14 มี.ค. 2561

5620

Bounce Rate Vs. Exit Rate แตกต่างกันอย่างไร by seo-winner.com

Bounce Rate Vs. Exit Rate แตกต่างกันอย่างไร


อย่างที่ได้กล่าวไปในบทความที่แล้วเกี่ยวกับความหมายของ Bounce Rate แต่หลายคนก็อาจยังไม่เข้าใจความหมายนั้นมากพอและเกิดการสับสนเพิ่มขึ้นอีกระหว่าง Bounce Rate กับ Exit Rate ที่ไม่รู้ว่ามีความหมายและแตกต่างกันอย่างไร โดยเจ้าสองตัวนี้จะมีหน้าที่วิเคราะห์ว่าหน้าเพจนั้นๆ มีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าหากเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดีและตรงกับความต้องการของผู้อ่าน เหล่านั้นจะส่งผลให้การปิดเว็บไซต์จะต่ำลงด้วย ทั้งนี้สิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะยอมรับร่วมกันคือ ยิ่งค่า Bounce Rate กับ Exit Rate น้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งจะดีเท่านั้น

Bounce Rate คืออะไร
สำหรับความหมายของ Bounce Rate ในภาษาไทยนั้นใช้คำว่า อัตราการตีกลับ นั่นคืออัตราส่วนของการออกจากเว็บไซต์หลังจากที่มีผู้เข้าชมโดยเปิดเพียงแค่หน้าเพจนั้นหน้าเดียว และไม่ได้ทำสิ่งใดๆ บนหน้าเพจนั้น หรือหากนิยมง่ายๆ นั่นคือ การเข้าแล้วออกเลย ส่วนใหญ่ถ้าหาก Bounce Rate สูงนั้นจะหมายถึงผู้ที่เข้าชมอาจไม่ชอบเนื้อหาในเว็บไซต์ เนื้อหาไม่ตรงกับความต้องการจึงกดปิดออกไป 

ตัวอย่างการคำนวณ Bounce Rate 
สมมติว่าโพสต์ลิงก์บทความ Facebook จากนั้นมีคนเข้าลิงก์มาอ่านที่ 100 คน และมีคนจำนวน 60 คนที่กดออกจากเว็บไซต์โดยที่ไม่ไปหน้าอื่น ซึ่งสามารถคำนวณ Bounce Rate ได้เท่ากับ 60%


Exit Rate คืออะไร
สำหรับความหมายของ Exit Rate ในภาษาไทยนั้นใช้คำว่า อัตราการออก คือ เปอร์เซ็นต์ที่หน้าเพจนั้นเป็นหน้าสุดท้ายของ Session ก่อนที่ Session นั้นจะกดปิดออกจากเว็บไซต์ สิ่งนี้เป็น Metric ที่กล่าวควบคู่กับ Bounce Rate อยู่เสมอจึงมักทำให้สับสนระหว่างความหมายของสองตัวนี้ หรือหากนิยามง่ายๆ นั่นคือ หน้าสุดท้ายก่อนที่เราจะออกจากเว็บไซต์นั่นเอง

ตัวอย่างการคำนวณ Exit Rate
โดยการคำนวณนั้นจะคิดจากที่ผู้ชมกดปิดเว็บไซต์จากหน้านั้นเป็นหน้าสุดท้าย และเทียบกับจำนวน Pageview ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในหน้านั้น สมมติว่าเพจ A นั้นมีการเปิดเข้าชมทั้งหมด 50 ครั้ง (Pageview = 50) และมีการออกจากหน้าเว็บไซต์ที่หน้าเพจ A ทั้งหมด 25 ครั้ง (Exit Rate = 25) ซึ่งสามารถคิดหา Exit Rate ได้เท่ากับ 50% แสดงให้เห็นว่าอัตราการปิดเว็บไซต์ในหน้าเพจ A มีจำนวนครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว


ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Bounce Rate และ Exit Rate
- หลายคนอาจเข้าใจว่า Bounce Rate คือการกดเข้าเว็บไซต์และปิดอย่างรวดเร็ว ในความจริงแล้วไม่ได้เกี่ยวกับระยะเวลา เพราะหากอยู่ในหน้าเว็บนั้นๆ นานแต่ไม่ได้เปิดไปหน้าอื่นก็ทำให้เกิด Bounce ได้เหมือนกัน
- หากมีผู้ใช้งานเปิดแค่หน้าเว็บนั้นเพียงหน้าเดียว ไม่ได้เปิดไปที่หน้าอื่นๆ ต่อ ก็ไม่ได้หมายถึงว่าเป็นการ Bounce เสมอไป เพราะผู้ใช้อาจจะทำ Event บางอย่างในเว็บไซต์ก็เป็นได้ ถ้ามี Event เกิดขึ้น Google Analytics จะไม่นับเป็น Bounce
- หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า Bounce Rate ยิ่งเยอะยิ่งไม่ดี ซึ่งนั้นก็อาจไม่จริงเสมอไป เพราะบางครั้งผู้ใช้อาจจะปิดหน้านั้นๆ ไปเพราะว่าได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว (ไม่ได้หมายความว่าเว็บเราไม่ดี) แต่การทำให้ Optimize Landing Page ให้มี Bounce Rate ต่ำก็ถือว่ายังเป็นแนวทางที่ดีในการทำตลาดออนไลน์
- Exit Rate คืออัตราการปิด เมื่อมีคำว่าปิดแสดงว่าหน้าเพจนั้นจะมี Pageview เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นโปรดจำไว้ว่า Exit Rate นั้นเกี่ยวข้องกับ Pageview เสมอ
- Bounce Rate และ Exit Rate สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าผู้ใช้จะไม่ได้ทำการกดปิดเว็บไซต์ แต่มันเกิดขึ้นด้วยการที่ผู้ใช้ปล่อยหน้าจอทิ้งเอาไว้จน Session หมดอายุ


***ตัวอย่างการนับ Bounce Rate และ Exit Rate

สมมุติว่าเว็บไซต์แห่งหนึ่งมีการเข้าชมดังต่อไปนี้
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 1: Page A > Page B > Page C > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 2: Page B > Page A > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 3: Page C > Page B > Page A > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 4: Page C > Page B > ออก
การเข้าชมเว็บไซต์คนที่ 6: Page B > ออก
**การเข้าชมแต่ละครั้งมาจาก Device และ Browser ที่ต่างกัน

หน้าเพจ A มี Bounce Rate และ Exit Rate เท่าไหร่?
Bounce Rate (Page A) = 0% เพราะมีการเริ่มต้น Session ด้วยหน้าเพจ A แค่ครั้งเดียวและครั้งนั้นได้ทำการเปิดไปต่อยังหน้าเพจ B ด้วยจึงไม่นับเป็นการ Bounce
Exit Rate (Page A) = 66% เนื่องจากหน้าเพจ A มี 3 Pageviews และมีการปิดเว็บไซต์จากนี้ 2 ครั้ง
หน้าเพจ B มี Bounce Rate และ Exit Rate เท่าไหร่?
Bounce Rate (Page B) = 50% เพราะมีการเริ่มต้น Session ด้วยหน้าเพจ B ทั้งหมด 2 ครั้งและมี 1 ครั้งที่กดปิดในทันทีโดยไม่ได้เปิดเข้าไปยังหน้าอื่นๆ ต่อ
Exit Rate (Page B) = 40% เนื่องจากหน้าเพจ B มี 5 Pageviews และมีการปิดเว็บไซต์จากนี้ 2 ครั้ง

สรุปง่ายๆ คือ
Bounce Rate : อัตราตีกลับ / เปิดเข้าเว็บไซต์แค่หน้าเดียวแล้วออกจากเว็บไซต์เลย
Exit Rate : อัตราการออก / หน้าสุดท้ายก่อนออกจากเว็บไซต์







ที่มา : hooktalk

บทความ

แท็กชื่อ (TITLE TAG) ควรมีความยาวเท่าใดในปี 2024

แท็กชื่อ (TITLE TAG) ควรมีความยาวเท่าใดในปี 2024

แท็กชื่อ (Title Tag) ที่ใช้ในหน้าเว็บควรมีความยาวประมาณ 50-60 ตัวอักษร เพื่อให้แสดงผลได้อย่างเหมาะสมบนผลการค้นหาของ Google ในปี 2024 ... อ่านเพิ่มเติม

วิธีสร้างไอเดียสำหรับ Content ออนไลน์

วิธีสร้างไอเดียสำหรับ Content ออนไลน์

คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 การตลาดเนื้อหาสร้างรายได้ประมาณ107 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการตลาดเนื้อหาในส่วนผสมทางการตลาด ... อ่านเพิ่มเติม

จะทำให้คนพูดถึงแบรนด์ของเราได้อย่างไร

จะทำให้คนพูดถึงแบรนด์ของเราได้อย่างไร

การที่ผู้คนพูดถึงแบรนด์ของเราช่วยสร้างการรับรู้ถึงแบรนด์และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรา เนื่องจากผู้บริโภคมักจะเชื่อถือคำแนะนำจากผู้อื่นมากกว่าการโฆษณาแบบดั้งเดิม ... อ่านเพิ่มเติม

ทำไม Local Search Engine Optimization  จึงมีความสำคัญสำหรับธุรกิจในประเทศไทย

ทำไม Local Search Engine Optimization จึงมีความสำคัญสำหรับธุรกิจในประเทศไทย

อนาคตของ Local Search Engine Optimization (Local SEO) ในประเทศไทยคาดว่าจะมีการเติบโตและกลายเป็นสิ่งสำคัญยิ่งขึ้น เนื่องจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตและการค้นหาข้อมูลผ่านอุปกรณ์มือถือเพิ่มขึ้น ... อ่านเพิ่มเติม

ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหา 27 ปี ได้แบ่งปัน 5 ขั้นตอนในการปรับปรุง SEO ของเรา

ล่าสุดผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหา 27 ปี ได้แบ่งปัน 5 ขั้นตอนในการปรับปรุง SEO ของเรา

ใน Summit เมื่อเร็วๆ นี้ Duane Forrester ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดผ่านการค้นหามา 27 ปีได้แบ่งปันคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการเป็น SEO ที่ดีขึ้น และพัฒนาทักษะเพื่อคาดการณ์ได้ดีขึ้นว่าการตลาดผ่านการค้นหากำลังมุ่งหน้าไปที่ใด ... อ่านเพิ่มเติม

ขับเคลื่อนยอดขายด้วย PR ดิจิทัล (สิ่งที่แบรนด์อีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องรู้)

ขับเคลื่อนยอดขายด้วย PR ดิจิทัล (สิ่งที่แบรนด์อีคอมเมิร์ซจำเป็นต้องรู้)

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลและการสื่อสารเป็นเรื่องราวของทุกวินาที การขับเคลื่อนยอดขายด้วย PR ดิจิทัลกำลังก้าวเข้าสู่ขอบเขตใหม่ๆ ที่มีศักยภาพไม่จำกัด ... อ่านเพิ่มเติม

วิธีการแข่งขัน SEO เพื่อบรรลุอันดับที่สูงขึ้น (เหนือกว่าคู่แข่งของเรา)

วิธีการแข่งขัน SEO เพื่อบรรลุอันดับที่สูงขึ้น (เหนือกว่าคู่แข่งของเรา)

เว็บไซต์ที่ใช้กลยุทธ์ SEO มักจะมีประสิทธิภาพดีกว่าเว็บไซต์ที่ไม่ทำ SEO ในหลายๆ ด้าน เช่น การได้รับ Traffic และการมองเห็นในผลการค้นหา ... อ่านเพิ่มเติม

วิธีสร้างสมดุลระหว่าง SEO และ UX

วิธีสร้างสมดุลระหว่าง SEO และ UX

การผสมผสาน SEO และ UX เข้าด้วยกันนั้นมีความสำคัญยิ่งในการสร้างเว็บไซต์ที่ไม่เพียงแต่ดึงดูดการเข้าชมจากการค้นหาอย่างมีประสิทธิภาพ ... อ่านเพิ่มเติม

วิธีทำให้ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์ของเรา

วิธีทำให้ Google จัดทำดัชนีเว็บไซต์ของเรา

การจัดทำดัชนีเนื้อหาเว็บไซต์ของ Google มีบทบาทสำคัญในการกำหนดว่าเนื้อหาของเรา ว่าจะปรากฏบนผลการค้นหาหรือไม่ ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงและการมองเห็นของเว็บไซต์ในอินเทอร์เน็ต ... อ่านเพิ่มเติม