26 ส.ค. 2563
13486
ส่องกลยุทธ์ใหม่ของ “แมคโดนัลด์ ประเทศไทย” ทำอย่างไรให้พิชิตใจลูกค้า
“แมคโดนัลด์” (McDonald’s) เปิดสาขาแรกในไทยที่อัมรินทร์ พลาซ่า เป็นเวลาถึง 35 ปี ช่วงนั้นอยู่ในยุคของ “ร้านอาหารให้บริการด่วน” หรือที่เรียกว่า “Quick Service Restaurant” (QSR) สิ่งที่ยากที่สุดในตอนนั้นคือ การสร้าง Brand Awareness ให้คนไทยรู้จัก ให้เข้าใจถึง QSR มากขึ้น และสร้างพฤติกรรมให้คุ้นเคยกับการบริโภคเบอร์เกอร์ ซึ่งไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย ควบคู่กับการขยายสาขาต่อเนื่อง
ถึงวันนี้ คนไทยคุ้นเคย และมีประสบการณ์กับการใช้บริการร้านอาหารบริการด่วน, เมนูเบอร์เกอร์, ไก่ทอด และหลายคนรู้จักแบรนด์ “แมคโดนัลด์” เป็นอย่างดี เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล โจทย์ใหญ่ของ “แมคโดนัลด์” จึงไม่ได้เป็นเรื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจในบริการ QSR และไม่ใช่แค่ penetrate สาขาให้ครอบคลุมทั่วประเทศเท่านั้น
วันนี้เราจะมาส่องกลยุทธ์ใหม่ของ “แมคโดนัลด์ ประเทศไทย” ทำอย่างไรให้พิชิตใจลูกค้า
1. โฟกัสโปรดักต์ ไม่ต้องมีเมนูมากเกินไป แต่เน้นคุณภาพดีขึ้น – ตอบโจทย์ความคุ้มค่า
จุดแข็งอย่างหนึ่งของ “แมคโดนัลด์” คือ ความหลากหลายของโปรดักต์ ที่ครอบคลุมทั้งมื้อเช้า – กลางวัน – เย็น และมื้อรอง หรือที่เป็น Snack Time และเครื่องดื่ม
2.Engagement ระหว่างแบรนด์ กับลูกค้าทุกเซ็กเมนต์
ความตั้งในการสร้าง engagement กับกลุ่มครอบครัว คือ เวลาที่ผู้ปกครองรับลูกจากโรงเรียน หรือในวันเสาร์ – อาทิตย์ไปเที่ยวต่างจังหวัด ลูกเป็นคนบอกเองว่า “แวะแมคโนดัลด์นะ” หรือ “อยากทานแมคโดนัลด์” นี่คือสิ่งที่เราจะพยายามให้มีความผูกพันกับลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น
ส่วน “กลุ่มวัยรุ่น” และ “วัยเริ่มต้นทำงาน” แนวทางการสร้าง Engagement คือ ออกแบบบรรยากาศภายในร้านให้ “ถูกจริต” ผู้บริโภคกลุ่มนี้ เพื่อทำให้รู้สึกดี
นี่จึงเป็นที่มาของดีไซน์ร้านใหม่ เป็น Global Design ที่เรียกว่า “Alphabet” เน้นความเรียบง่าย อบอุ่น ทันสมัย ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก รวมทั้งจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า
3.Channel Diversification ความหลากหลายช่องทางจำหน่าย เพื่อเข้าถึงผู้บริโภค
จุดแข็งของ “แมคโดนัลด์” คือ Channel Diversify เป็นการขยายช่องทางการให้บริการหลายรูปแบบ เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด โดยปัจจุบันแมคโดนัลด์ในไทย มี 228 สาขาทั่วประเทศ และรูปแบบแมคสแน็ค (McSnack) 20 คีออส, ไดร์ฟทรู (Drive-thru) 79 สาขา และแมคดิลิเวอรี (McDeliver) 185 สาขา รวมแล้วมีลูกค้าใช้บริการประมาณ 8 ล้านคนต่อเดือน
4.Digital Transformation เมื่อเทคโนโลยี และ Data เปลี่ยนภูมิทัศน์การตลาดที่ต้องตอบสนอง Personalization
“แมคโดนัลด์” ได้นำ Digital Payment และตู้สั่งอาหาร Self-ordering มาให้บริการลูกค้าที่สาขา แต่ขณะนี้กำลังขยับไปสู่ “แพลตฟอร์มดิจิทัล” ในรูปแบบของการเป็นคูปองแอปพลิเคชัน ที่นำเสนอคูปองให้กับลูกค้าได้แบบ Personalization ผ่านเทคโนโลยี AI และ Machine Learning ที่วิเคราะห์ Data ของผู้ใช้งานแอปฯ คนนั้นๆ
หลังจากเปิดตัวเมื่อตุลาคมปีที่แล้ว ปัจจุบันมียอดดาวน์โหลด 1.2 ล้านดาวน์โหลด และตั้งเป้าภายในสิ้นปี 2564 จะเพิ่มเป็น 4 ล้านดาวน์โหลด
ความสำคัญของแอปพลิเคชันนี้ คือ การสร้างโมเดล “O2O” (Online to Offline) เพื่อให้ผู้บริโภคที่ได้รับ e-Coupon ผ่านแอปฯ นำมาใช้ที่ร้านสาขา เป็นการเพิ่มความถี่ในการใช้บริการภายในร้าน และต่อไปจะ Merge บริการ Delivery เข้ามาในแอปฯ McDonald’s เดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการใช้งาน โดยลูกค้าสามารถสั่งผ่านแอปฯ นี้ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะไปรับเองที่ร้านสาขาที่สะดวก หรือให้จัดส่งถึงบ้าน
5. “Hygiene – Cashflow – Flexible – Supply Chain Management” แผนรับมือเมื่อสถานการณ์ COVID-19 ยังวางใจไม่ได้!
ในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา ความที่ “แมคโดนัลด์” เป็น Global Brand จึงมีเน็ตเวิร์คทั่วโลก ได้เห็นสัญญาณการแพร่ระบาดของไวรัสตั้งแต่ประเทศจีนเกิดเหตุการณ์ ทำให้ “แมคโดนัลด์” ในไทยสามารเตรียมตัวรับมือตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เกิดสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น
– Hygiene ทั้งพนักงานสาขา, Riders ของแมคโดนัลด์, การวัดอุณหภูมิพนักงาน
– ใช้ความได้เปรียบของการมีช่องทางจำหน่ายหลากหลาย โดยเฉพาะช่องทาง Delivery และ Drive-thru
– บริหารจัดการกระแสเงินสด และค่าใช้จ่าย
– กระจาย Supply Chain ใช้ทั้ง Local และ Global Supply Chain เนื่องจากแมคโดนัลด์เป็น Global Supply Chain
– Flexible นอกจากธุรกิจต้องมี Efficiency แล้ว ธุรกิจต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภค และสถานการณ์แวดล้อม
– งบการลงทุนปี 2563 ปรับลดลงเหลือ 180 ล้านบาท จากเดิม 250 ล้านบาท
ที่มา : brandbuffet