10 เม.ย. 2561
4973
6 เครื่องมือสำหรับตรวจประสิทธิภาพของเว็บไซต์
แน่นอนว่าเมื่อเรามีเว็บไซต์ที่เอาไว้ใช้งานไม่ว่าจะเกี่ยวกับธุรกิจหรือมีไว้เพื่อประโยชน์อื่นๆ อย่างไรก็ตามแต่ เช่นกันเว็บไซต์ของเรามีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือว่ามีมากแค่ไหนนั้นก็เป็นสิ่งที่จำเป็นมากพอสมควรที่เราต้องรู้ เพื่อที่ว่าจะได้นำไปปรับปรุงและแก้ไขให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้งานเว็บไซต์ของเรามากที่สุด และสำหรับการเช็คประสิทธิภาพเว็บไซต์นั้นการใช้เครื่องมือเดียวอาจจะไม่เพียงพอในการวัดประสิทธิภาพเว็บไซต์ สำหรับบทความนี้จึงนำพาทุกท่านมาพบกับเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์ว่ามีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงหรือไม่ และเป็นเครื่องมือที่ใช้งานได้ผลจริง มาดูกันเลย
อย่าลืมว่าเพื่อให้การตรวจสอบเว็บไซต์นั้นได้ผลที่สุด อาจำเป็นต้องมีการใช้เครื่องมือหลายๆ ตัวในการตรวจสอบเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจและความแม่นยำในการตรวจสอบเว็บไซต์ในแต่ละครั้งด้วย อีกทั้งเว็บไซต์ที่ตรวจสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์บางเว็บนั้นมาจากเมืองนอกจึงจำเป็นต้องใช้หลายเครื่องมือในการตรวจสอบ
Dareboost
https://www.dareboost.com
เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่ตรวจเช็คความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์
ข้อดี
สามารถบอกจุดที่ต้องแก้ไขได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการปรับขนาดของไฟล์ภาพและวิดีโอให้มีการโหลดเร็วขึ้น รวมไปถึงแนวทางในการแก้ไขโค้ดที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์ที่มีการโหลดนานจนเกินไป
^ มีลิงก์ส่งตรงไปยังจุดที่ต้องแก้ไข (ภาพหรือวิดีโอที่ต้องทำการปรับขนาด)
^ สามารถกดส่งรายงานการประมวลผลเข้าไปในอีเมล
ข้อเสีย
^ การแก้ไขในบางจุดนั้นต้องใช้คนที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับด้านไอทีและโปรแกรมเมอร์เข้ามาช่วยด้วย
SEOPTIMER
https://www.seoptimer.com/
เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่ตรวจภาพรวมของเว็บไซต์เป็นหลัก
ข้อดี
^ บอกแนวทางการแก้ไขที่ช่วยให้ลำดับของ SEO ดีขึ้น
^ มีภาพกราฟิกให้ดูและสามารถเข้าใจได้ง่าย
^ บอกจุดที่ต้องแก้ไขในภาพรวมของเว็บไซต์
ข้อด้อย
^ ไม่สามารถรู้รายละเอียดตำแหน่งที่ต้องแก้ไขว่ามีจุดใดบ้าง
GTmetrix
https://gtmetrix.com/
เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่ตรวจเช็คความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์
ข้อดี
^ สามารถบอกจุดที่ต้องแก้ไขได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการปรับขนาดของไฟล์ภาพและวิดีโอให้มีการโหลดเร็วขึ้น รวมไปถึงแนวทางในการแก้ไขโค้ดที่ฝังอยู่ในเว็บไซต์ที่มีการโหลดนานจนเกินไป
^ มีลิงก์ส่งตรงไปยังจุดที่ต้องแก้ไข (ภาพหรือวิดีโอที่ต้องทำการปรับขนาด)
ข้อด้อย
^ เว็บไซต์นี้จะมีการอ่านค่าที่ค่อนข้างยากสำหรับคนที่ไม่ได้เรียนทางด้านไอที, โปรแกรมเมอร์
Google Pagespeed Insights
https://developers.google.com/speed/pagespeed/insights/
ใช้สำหรับการเช็คองค์ประกอบโดยรวมของเว็บไซต์ที่แสดงผลบนมือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์
ข้อดี
^ มีแนวทางในการแก้ไขเพื่อให้เว็บไซต์มีความเร็วมากขึ้น
^ มีตัวเลขในการใช้งานสำหรับแจ้งประสิทธิภาพของเว็บไซต์ว่าอยู่ในระดับใด
^ สามารถใช้งานและตรวจสอบได้ง่าย
ข้อด้อย
^ สำหรับจุดที่ต้องแก้ไขนั้นต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ทางด้านไอที, โปรแกรมเมอร์
WebPagetest
https://www.webpagetest.org/
เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่ตรวจเช็คความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์
ข้อดี
^ บอกรายละเอียดของจุดที่ต้องแก้ไขให้เว็บมีความเร็วในการโหลดมากขึ้น
^ มีฟังก์ชั่น Image Analysis ที่ช่วยในการแนะนำการปรับขนาดของภาพที่ทำให้ความเร็วของตัวเว็บไซต์มีความเร็วเพิ่มขึ้น
ข้อด้อย
^ สำหรับเว็บไซต์นี้จะมีการอ่านค่าที่ค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนหรือมีความรู้ทางด้านไอที, โปรแกรมเมอร์
Pingdom
https://tools.pingdom.com/
เว็บไซต์นี้ทำหน้าที่ตรวจเช็คความเร็วในการโหลดของเว็บไซต์
ข้อดี
^ เว็บไซต์นี้เน้นด้านการตรวจสอบโค้ดที่ใช้งาน
^ บอกรายละเอียดของจุดที่ต้องแก้ไข ซึ่งในส่วนนี้นั้นจะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ในด้านไอที, โปรแกรมเมอร์ เข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพของเว็บไซต์
ข้อด้อย
^ สำหรับเว็บไซต์นี้จะมีการอ่านค่าที่ค่อนข้างยากสำหรับผู้ที่ไม่ได้เรียนหรือมีความรู้ทางด้านไอที, โปรแกรมเมอร์
ที่มา : stepstraining