05 ก.พ. 2565
866
Gartner ได้เปิดโผ 5 เทคโนโลยีที่ CIO ต้องลงทุนในปี 2022
ทุกคนคงทราบกันดีแล้วครับว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ได้ยืดเยื้อมาจนอย่างเข้าปีที่ 3 นั้นได้ตอกย้ำบริบทใหม่ คือ การกำเนิดธุรกิจยุคชีวิตวิถีใหม่ซึ่งได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงจาก New Normal Disruption ซึ่งใช้ประโยชน์จากศักยภาพนวัตกรรมและเทคโนโลยี ติดปีกความสามารถในการแข่งขันเพื่อเร่งเครื่องการเจริญเติบโตอย่างมั่นคงให้กับธุรกิจครับ
จากการรายงานผลสำรวจของการ์เนอร์ Gartner CIO and Technology Executive Survey นั้นได้รวบรวมความคิดเห็นจาก CIO และผู้บริหารด้าน IT ใน 85 ประเทศจำนวนมากกว่า 2,300 คน โดยได้ครอบคลุมอุตสาหกรรมหลักๆ ที่มีรายได้รวมกันประมาณ 9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังมีการรายงานตัวเลขที่ใช้จ่ายด้าน IT 1.98 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดการณ์ว่าในปี 2022 ตัวเลขงบค่าใช้จ่ายด้าน IT จะเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3.6 % ถือว่าเติบโตมากที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาและหากจะมาที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นสูงถึง 3.9 % เลยทีเดียวครับ
ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ต้องทำให้ตัดสินใจลงทุนทางด้าน IT มากขึ้นนั้น ก็เพื่อนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ขับเคลื่อนการก้าวไปสู่ธุรกิจที่ใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ Composable Business นั้นช่วยให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดและรับมือในด้านผลกระทบต่างๆ และความผันผวนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างต่อเนื่องครับ
Monika Sinha รองประธานฝ่ายวิจัย ของการ์ทเนอร์ ยังออกมาเผยว่า 63 % ของผู้บริหารตำแหน่ง CIO ในองค์กรที่มีการนำเข้าข้อมูลซึ่งเป็นการนำเข้ามาช่วยในการประกอบการตัดสินใจในระดับสูง และยังได้ระบุอีกว่า บริษัทนั้นมีผลประกอบการในปีที่ผ่านมาเหนือกว่าคู่แข่งและบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถสร้างช่องทางมูลค่าใหม่ๆ ได้จากเทคโนโลยีที่ได้ลงทุนไปอีกด้วยครับ
เรามาดูกันเลยว่าเทคโนโลยีที่มาแรง ‘เทคโนโลยีเกิดใหม่’ ที่ได้ติด 5 อันดับแรกนั้น โดยทางบรรดา CIO องค์กรชั้นนำ วางแผนติดตั้งหรือนำมาใช้งานในช่วง 12 เดือนข้างหน้านั้นมีอะไรบ้างไปดูกันเลยครับ
เรามาดูอันดับที่ 1 กันเลย คือ ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมขอเครื่อง Machine Learning (ML) ผลจากการสำรวจพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนถึง 48% ก็เพราะเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ/มนุษย์ให้ข้อมูลเชิงลึก เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์แนวโน้มต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้นเองล่ะครับ
ตามมาด้วยอันดับที่ 2 นั่นก็คือระบบคลาวด์แบบกระจาย Distributed Cloud ซึ่งผลจากการสำรวจ พบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการลงทุน 44% โดยขยับการลงทุนจากบริการคลาวด์จากสาธารณะแบบเดิมที่รวมศูนย์ ไปสู่การกระจายตัวไปยังดาต้าเซ็นเตอร์หลายๆ แห่งและยังตอบโจทย์ในเรื่องกฎระเบียบต่างๆ อีกด้วย ทั้งนี้ยังลด Latency จากการส่งข้อมูล อีกทั้งผู้ที่ให้บริการคลาวด์ต้นทางยังมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล ปรับปรุง และพัฒนาบริการด้วยครับ
ไปต่อกันเลยครับกับอันดับที่ 3 เทคโนโลยีที่รวมความสามารถของ Security หลายรูปแบบในที่เดียวเพิ่ม Security ให้กับทุกการเชื่อมต่อขององค์กร Secure Access Service Edge (SASE) จากการที่ได้สำรวจพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนถึง 32% เป็นการลงทุนสำหรับสถาปัตยกรรมเครือข่ายและความปลอดภัยใหม่สำหรับธุรกิจ เป็นการรวมโซลูชันในการทำงานและรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ให้มาทำงานร่วมกันบนคลาวด์ และในส่วนนี้ยังช่วยให้ฝ่าย IT ขององค์กรนั้นสามารถให้บริการแบบองค์รวมที่คล่องตัวและปรับเปลี่ยนได้รองรับธุรกิจดิจิทัล
มาพบกับอันดับที่ 4 เป็นการเพิ่มความสามารถให้คลาวด์หรือนำหน่วยประมวลผล ซึ่งติดตั้งในพื้นที่ ที่อยู่ใกล้กับการใช้งานเพื่อลดระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ Edge Computing จากผลการสำรวจยังพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการลงทุน 27% เป็นในส่วนของ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นที่ได้ถูกจัดวางการประมวลผลข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้ก็เพื่อลดความหน่วง ช่วยให้การประมวลผลและใช้งานข้อมูลรวดเร็วยิ่งขึ้นและยังสามารถเพิ่มอำนาจในการควบคุมและตัดสินใจให้กับระบบที่อยู่ส่วนขอบของเครือข่ายอีกด้วยครับ
มาถึงในส่วนของอันดับสุดท้ายแล้วก็คืออันที่ 5 แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบหลายประสบการณ์ Multi-Experience Development Platform และจากผลการที่ได้สำรวจพบว่ามีแนวโน้มที่จะมีการลงทุนถึง 25 % เพื่อรองรับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้รับรู้และสัมผัสกับโลกดิจิทัล
รวมถึงวิธีการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัลในรูปแบบใหม่ และผ่านแพลตฟอร์มและอุปกรณ์ที่หลากหลายขึ้นสนับสนุนการสร้างประสบการณ์ดิจิทัลให้กับผู้ใช้อีกทั้งเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลให้กับองค์กรธุรกิจอีกด้วยครับ
ข้อมูลจาก: csl.co.th