27 มี.ค. 2561
12268
Google Trends คืออะไร
Google เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจและการทำเว็บไซต์ของเราประสบความสำเร็จได้ และอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราต้องรู้จักและทำการศึกษาเอาไว้ นั่นคือ Google Trends มันคืออะไร มีความหมายอย่างไร มาดูกัน
Google Trends คืออะไร
Google Trends คือ เครื่องมือของกูเกิ้ลที่มีน่าที่ในการวิเคราะห์แนวโน้มการค้นหาคำต่างๆ โดยผ่าน Google Search ซึ่งจะเรียกสิ่งนี้ว่า Search Term ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการค้นหาผ่าน Google Search ที่มีคำว่า ฟุตบอล รวมอยู่ใน Search Term ว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร เราสามารถระบุคำนี้ในช่องค้นหาของ Google Trends เพื่อดูแนวโน้มการค้นหาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันได้ (สามารถดูย้อนหลังได้ตั้งแต่ปี 2004) สำหรับการแสดงผลของข้อมูลนั้นจะแสดงออกมาเป็นเส้นกราฟขึ้นลงตามจำนวนปริมาณการค้นหาในแต่ละช่วงเวลา และจุดสูงสุดของกราฟหมายถึงช่วงที่มีปริมาณการค้นหามากที่สุด
สามารถเข้าไปลองใช้กันได้ที่ https://trends.google.com/trends/explore
และเราสามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบเพื่อเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน และสามารถนำข้อมูลไปใช้งานได้ง่ายขึ้น
สำหรับวิธีการใช้งาน Google Trends มีดังนี้
1.ระบุ Search Term ที่ต้องการดูข้อมูล สามารถเปรียบเทียบได้สูงสุด 5 คำ โดยต้องเลือกคำที่มีความเฉพาะเจาะจงในระดับหนึ่ง
2.ระบุประเทศที่ต้องการค้นข้อมูล
3.ระบุช่วงเวลาที่ต้องการดูข้อมูล ซึ่งสามารถดูย้อนหลังได้ตั้งแต่ปี 2004 (หากเป็นกลุ่มคำใหม่ที่ไม่เคยมีการค้นหาในอดีต แนะนำให้อยู่ในช่วงการค้นหา 1 ถึง 3 เดือน จะทำให้เห็นกราฟข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น)
4.ระบุ Category ที่ต้องการดูข้อมูล แล้วแต่วัตถุประสงค์ที่จะนำไปวิเคราะห์การใช้งาน
5.ระบุแหล่งค้นหา เช่น Web Search, News search, Youtube search หรือ Google Shopping ข้อมูลที่ได้ก็จะถูกฟิลเตอร์จากแหล่งที่มาที่เราระบุไว้
การใช้ประโยชน์จาก Google Trends
1.ใช้ตรวจสอบเทรนด์การค้นหาของสินค้า เพื่อเป็นการเพิ่มข้อมูลในการทำธุรกิจ พิจารณาเพื่อนำมาตัดสินใจ วางแผนธุรกิจได้
2.ตรวจสอบความต้องการ ความสนใจสินค้าของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าใหม่ แบรนด์ใหม่ หรือการรับฟีดแบคจากการสร้างแคมเปญต่างๆ และมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหนในการที่จะทำให้ผู้บริดภคค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน Google Search
3.วิเคราะห์และทำ Keyword Analysis เบื้องต้นสำหรับการทำ SEO
4.ใช้ในการวางแผนและคิดหัวข้อในการทำ Content ที่จะตรงกับแนวโน้มและความสนใจต่างๆ ที่ผู้บริโภคได้ทำการค้นหา
5.สามารถเปรียบเทียบกับคู่แข่งในเชิงการรับรู้ของแบรนด์ ความสนใจต่างๆ ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราได้รู้ว่าแคมเปญในเชิงการสร้าง Brand Awareness ว่ามีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนในขณะนั้น
ที่มา : googleanalyticsthailand