30 ก.ย. 2565

1309

ประโยชน์ของบริการดิจิทัลเชิงโต้ตอบ ในการทำการตลาดดีอย่างไรบ้าง by seo-winner.com

ประโยชน์ของบริการดิจิทัลเชิงโต้ตอบ ในการทำการตลาดดีอย่างไรบ้าง

ทำความรู้จักกับสื่อเชิงโต้ตอบ : แน่นอนครับสื่อ interactive (เชิงตอบโต้) เป็นวิธีการสื่อสารที่ output ของโปรแกรม แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับ input ของผู้ใช้และในทางกลับกัน input ของผู้ใช้ก็จะส่งผลต่อ output ของโปรแกรมนั่นเอง 

หากจะอธิบายง่ายๆ ก็คือวิธีการต่างๆ ที่ผู้คนประมวลผลและแบ่งปันข้อมูล หรือวิธีการที่พวกเขาเหล่านั้นสื่อสารกันนั่นเองครับ ดังนั้นสื่อ  interactive จึงช่วยให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือองค์กร ซึ่งทำให้พวกเขามีส่วนร่วมในสื่อที่พวกเขาบริโภคผ่านข้อความ กราฟิก วิดีโอ และเสียงเป็นต้น

ประโยชน์ของบริการดิจิทัลเชิงโต้ตอบในการทำการตลาด : แน่นอนครับในปัจจุบันหรือทุกๆ 2-3 ปีความคาดหวังของลูกค้าได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากรสนิยม ความชอบ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความคิดของผู้บริโภคด้วย อย่างไรก็ตามสำหรับธุรกิจแล้ว ความสำคัญของการตลาดดิจิทัลและเนื้อหาเชิงโต้ตอบไม่เคยปรากฏชัดเจนมากไปกว่านี้มากก่อนเลย (หมายถึงโลกโซเชียลมีอิทธิพลเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนบางอย่าง)

ในปัจจุบันการแข่งขันในตลาดได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการแข่งขันด้านเทคโนโลยีและด้านอื่นๆ ทำให้ความชอบของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเพราะผู้บริโภคมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น (นั่นหมายถึงผู้บริโภคต้องการสิ่งที่ดีที่สุดและเข้าถึงได้ง่ายที่สุด) 

ดังนั้นธุรกิจที่มองการณ์ไกลมองหาการสร้างเนื้อหาใหม่และช่องทางการเผยแพร่ที่ผสานการออกแบบที่สร้างสรรค์และเปิดใช้งานการโต้ตอบที่ดียิ่งขึ้น จำเป็นต้องเติมเต็มความคาดหวังของลูกค้าด้วย ตลอดจนบรรลุวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

อย่างไรก็ตามสำหรับองค์กรที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพราะความคล่องตัวคือกุญแจสำคัญในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีและภูมิทัศน์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ประเภทและประโยชน์ของการตลาดเชิงโต้ตอบ : เนื้อหาเชิงโต้ตอบยอดนิยมบางประเภทได้แก่ e-book แบบโต้ตอบ โพล, อีเมล, การแสดงภาพข้อมูล, วิดีโอเกม, วิดีโอถ่ายทอดสด และอื่นๆ มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการตลาดในปัจจุบัน 

แน่นอนครับสำหรับธุรกิจที่ต้องการรับรองประสบการณ์แบรนด์ ให้มีความหมาย และมีส่วนร่วมกับผู้บริโภค จำเป็นที่จะต้องลงทุนในโครงการริเริ่มด้านการตลาดเชิงโต้ตอบด้วย โดยมีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. เพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ชม : การตลาดเชิงโต้ตอบช่วยให้ธุรกิจนำเสนอประสบการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีผ่านการท่องเว็บไซต์ และการช้อปปิ้งที่น่าสนใจสำหรับลูกค้า ซึ่งจะทำให้พวกเขามีส่วนร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการอย่างกระตือรือร้นก่อนตัดสินใจซื้อนั่นเอง

2. ผลตอบรับที่ดีขึ้นจากลูกค้า : ควรมีช่องทางเพื่อรับข้อมูลในคำติชมของลูกค้า ซึ่งจะสามารถช่วยให้ธุรกิจสามารถเรียนรู้สิ่งที่ลูกค้านั้นคิดเกี่ยวกับแบรนด์ของเรา เพื่อให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดของคุณได้ ดังนั้นการใช้ความคิดเห็นของลูกค้าแบบเรียลไทม์สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอนครับ

3. การโต้ตอบที่ใช้ต้นทุนต่ำและมีผลตอบรับสูง : เนื่องจากธุรกิจต่างๆ สามารถใช้เทคนิคการตลาดเชิงตอบโต้เพื่อดึงดูดผู้บริโภคและสร้างรายได้ จึงทำให้ประหยัดค่าแรงได้โดยใช้ทรัพยากรมนุษย์ในจุดสัมผัสที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้

4. การสร้างและการแปลงโอกาสในการขายที่เพิ่มขึ้น : การนำเสนอเนื้อหาที่ตรงเป้าหมายและเป็นส่วนตัวในเวลาที่เหมาะสม ทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้บ่อยและมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้มีลูกค้าเป้าหมายและการแปลงประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

5. การเรียนรู้ที่ดีขึ้นและน่าจดจำสำหรับลูกค้า : แน่นอนครับเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าเนื้อหาเชิงตอบโต้ช่วยให้ได้เรียนรู้ความคิดเห็น พฤติกรรม และแนวโน้มต่างๆ ได้อย่างมากมาย เนื่องจากผู้ใช้มักจะใช้เวลาโต้ตอบเกี่ยวกับธุรกิจของคุณทางออนไลน์มากขึ้น และมักจะจำคุณได้ในครั้งต่อไปที่พวกเขาต้องการบางสิ่งบางอย่าง

6. เพิ่มความภักดีต่อแบรนด์ : การใช้เทคโนโลยีแบบโต้ตอบช่วยอำนวยความสะดวก และมอบประสบการณ์ที่ดีให้ต่อลูกค้าได้ ดังนั้นแนวโน้มที่จะสร้างความประทับใจเชิงบวกให้แก่ลูกค้า จะทำให้เกิดความภักดีต่อแบรนด์ได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ

หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ




 

 

--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ

ข้อมูลจาก : investopedia / infosysbpm

 

บทความ

ACE Indicator System เชื่อมโยงการตลาดกับ SEO

ACE Indicator System เชื่อมโยงการตลาดกับ SEO

ACE Indicator System และการใช้ SEO เข้าใจความเชื่อมโยงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น การนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันจะช่วยให้สามารถปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ในผลการค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ... อ่านเพิ่มเติม

PageSpeed Insights กับ GTmetrix

PageSpeed Insights กับ GTmetrix

PageSpeed Insights กับ GTmetrix เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในการวัดประสิทธิภาพและความเร็วของเว็บไซต์ ช่วยให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์สามารถระบุปัญหาที่ทำให้เว็บไซต์โหลดช้า ... อ่านเพิ่มเติม

Total Blocking Time คืออะไร

Total Blocking Time คืออะไร

Total Blocking Time (TBT) เป็นหนึ่งในเมตริกที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยวัดระยะเวลาที่เว็บไซต์ถูกบล็อกจากการตอบสนองต่อผู้ใช้ เนื่องจาก JavaScript ที่ใช้เวลานานในการทำงาน ... อ่านเพิ่มเติม

ทำไมการทำเว็บไซต์ต้องรู้จัก Core Web Vitals

ทำไมการทำเว็บไซต์ต้องรู้จัก Core Web Vitals

ทำไมการทำเว็บไซต์ต้องรู้จัก Core Web Vitals ชุดของเมตริกที่ Google ใช้ในการวัดประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience UX) บนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นปัจจัยการจัดอันดับของ Google ... อ่านเพิ่มเติม

Topical Authority  กับการจัดอันดับเว็บไซต์

Topical Authority กับการจัดอันดับเว็บไซต์

Topical Authority กับการจัดอันดับเว็บไซต์ เมื่อ Google มองว่าเว็บไซต์มีความรู้และความเชี่ยวชาญในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นพิเศษ เว็บไซต์นั้นก็จะได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหา ... อ่านเพิ่มเติม

ปลั๊กอิน Elementor สำหรับคนทำ Wordpress

ปลั๊กอิน Elementor สำหรับคนทำ Wordpress

ปลั๊กอิน Elementor สำหรับคนทำ Wordpress ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ใช้งานง่ายและฟีเจอร์ที่หลากหลาย ทำให้สามารถสร้างหน้าเว็บไซต์ที่สวยงามและเป็นมืออาชีพได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเลย ... อ่านเพิ่มเติม

Content Uniqueness คอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Content Uniqueness คอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Content Uniqueness ความเป็นเอกลักษณ์ของคอนเทนต์ ความโดดเด่นและแตกต่างของเนื้อหาที่สามารถสร้างความสนใจและดึงดูดผู้ชมได้เป็นอย่างดี ... อ่านเพิ่มเติม

Key Takeaway ทำ SEO สำหรับคนงบน้อย

Key Takeaway ทำ SEO สำหรับคนงบน้อย

Key Takeaway ทำ SEO สำหรับคนงบน้อย เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการทำ SEO โดยช่วยให้สร้างเนื้อหาที่มีคุณค่า, เพิ่มการเข้าชม, และปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ในผลการค้นหา ... อ่านเพิ่มเติม

เทคนิค SXO (Search Experience Optimization)

เทคนิค SXO (Search Experience Optimization)

เทคนิค SXO (Search Experience Optimization) เป็นการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบโจทย์ทั้งผู้ใช้และเครื่องมือค้นหา ทำให้เว็บไซต์มีโอกาสปรากฏในอันดับต้น ๆ ของผลการค้นหา ... อ่านเพิ่มเติม