05 เม.ย. 2564
3050
Search Intent คืออะไร?
Search Intent หรือจุดประสงค์ของการค้นหาคือหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการทำ SEO
ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์ หรือ e-commerce เพราะไม่ว่าจะเป็นการค้นหาแบบไหน คอนเทนต์อะไร เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของ Google ก็คือการทำให้คนเจอข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการให้เร็วที่สุด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Search Inten ว่าแท้จริงแล้วคืออะไร และจะนำมาปรับใช้กับการทำคอนเทนต์ได้อย่างไร
Search Intent คืออะไร?
Search Intent ก็คือจุดประสงค์ของการค้นหา การเสิร์ชหาข้อมูลใน Google เพื่อตอบคำถามเรื่องที่สงสัยนั่นเอง หน้าที่ของคนที่ทำคอนเทนต์ เว็บไซต์ และ SEO ก็คือการทำความเข้าใจ Search Intent ว่าผู้ใช้งานต้องการค้นหาอะไร แล้วทำคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กับคนที่ใช้ Google ให้มากที่สุด
Search Intent มีกี่แบบ
1. การค้นหาเพื่อหาข้อมูล (Informational)
การเสิร์ชประเภทนี้เป็นการหาข้อมูล หรือการตอบคำถามบางอย่าง ซึ่งเรียกได้ว่าแทบจะทุกคนเลยที่ใช้งานแบบนี้
สำหรับคำที่ Search Intent มีได้หลายแบบ และอาจจะยังไม่แน่นอนแบบนี้ Google ก็จะเก็บข้อมูลและพัฒนาไปเรื่อยๆ เพื่อดูว่าสิ่งที่คนอยากเจอตอนเสิร์ชจริงๆ คืออะไร
2. การค้นหาเพื่อหาทางไปเว็บไซต์ (Navigational)
เป็นการเสิร์ชคำเฉพาะ ผู้ใช้งานรูปแบบนี้จะรู้ดีอยู่แล้วว่าเว็บไซต์ที่ต้องการหาคือเว็บอะไร เพียงแต่ไม่อยากพิมพ์ URL ลงไปเท่านั้นเอง จะสามารถเสิร์ชคีย์เวิร์ดแทนได้เลย เช่น Facebook Spotify Podcast
3. การค้นหาตัวเลือกเพื่อตัดสินใจ (Commercial investigation)
เป็นการค้นหาเพื่อการซื้อในอนาคต ารค้นหาประเภทนี้ก็จะเน้นไปที่การดูข้อมูล รีวิว เปรียบเทียบสินค้าและบริการต่างๆ เช่น Ahrefs VS Semrush, โรงแรมเชียงใหม่ เป็นต้น
4. การค้นหาเพื่อซื้อ (Transactional)
ประเด็นหลักของการเสิร์ชแบบนี้คือการเข้าใจว่า คนอาจจะไม่ได้ต้องการเปรียบเทียบตัวเลือก หรือหาข้อมูลเพิ่มแล้วแต่ต้องการซื้อเลย เช่น คีย์เวิร์ดประเภท สั่งจอง iPhone ,เบอร์ร้าน Bankara Reman เป็นต้น
สรุปเรื่อง Search Intent
การเขียนคอนเทนต์เพื่อให้ตอบโจทย์ Search Intent
-เสิร์ชคำนั้นที่อยากได้ใน Google ก่อน แล้วดูว่าหน้าเว็บที่ขึ้นมาเป็นแบบไหน
-ทำให้เป็นสไตล์เดียวกัน มุมมองไปทางเดียวกัน
-เขียนคอนเทนต์ให้ ลึก ครบ ข้อมูลจริง มี Secondary Keywords เสมอ
-ลิงก์ไปเว็บที่น่าเชื่อถือ
-ทำเว็บให้ดีในทุกด้าน เช่นความเร็ว Mobile-friendly และ Core Web Vitals
ที่มา : ahrefs