30 พ.ค. 2565
857
Technical SEO
เนื่องจากในปัจจุบันผู้คนหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดออนไลน์ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ เมื่อทำเว็บไซต์แล้วสิ่งสำคัญในขั้นตอนต่อไปก็คือการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ของเรานั้นติดอันดับการค้นหาบน Google แต่การทำ SEO นั้นมีหลากหลายรูปแบบและหลากหลายกลยุทธ์ เพราะฉะนั้นบทความนี้เราจึงได้นำ “Technical SEO” มานำเสนอแค่เพียงเท่านั้น
ซึ่งปัจจัยหลักของ “Technical SEO” ที่เราจะกล่าวถึงนั้นเป็นแค่หัวข้อหนึ่งที่เราได้นำมาอธิบายเท่านั้นถ้าหากต้องการศึกษาการทำ SEO ในรูปแบบต่างๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ SEO-Winner.com เพราะฉะนั้นเราไปดูกันเลยว่าในหัวข้อ “Technical SEO” ใช้วิธีการอย่างไร และมีอะไรบ้าง.
1. Domain (โดเมน)
ให้เราสังเกตและเช็ค website (เว็บไซต์) ของเราว่า Domain นั้นมีกี่ Domain หรือมีแค่ Domain เดี่ยว ตัวอย่างเช่น
- https://Poom.co.th
- https://www.Poom.co.th
- http://Poom.co.th
- http://www.Poom.co.th
1. หากเราพบ Domain ในกรณีเช่นนี้ให้เราทำการเลือกมา Domain เดียวเท่านั้น หลังจากนั้นให้ redirect Domain ไปยัง Domain ที่เราใช้ครับ
2. หลังจากเลือก Domain ที่จะใช้แล้ว หากต้องการที่จะทำให้เว็บไซต์ของเรานั้นมี section (ส่วน) ต่างๆ นั้นเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นควรใช้ subfolders แทน sub-domains นั่นเองครับ
2. Meta robots tag และ Robots.txt
ตั้งค่า Seach Engine Robots เข้ามา crawl ในเว็บไซต์ของเราได้ ในกรณีที่เว็บไซต์ของคุณนั้นไม่ติดอันดับคำค้นหาอะไรเลย ให้ลองเข้าไปดูที่ WordPress อาจจะเจอการตั้งค่า disallow search engine robots ไว้เพื่อให้ crawl website โดยลักษณะนี้จะเป็นอะไรที่พื้นฐานและมักพบเจอบ่อย หรือบางครั้งอาจเกิดจาก Robots โดน block ไม่ให้ crawl เว็บไซต์ก็อาจเป็นไปได้ ดังนั้นถึงแม้ว่าเราจะสร้าง backlinks เยอะแค่ไหน website ของเราก็ไม่สามารถที่จะติดอันดับได้เลย และอาจโดน Google Spam ด้วยครับ
3. itemap
itemap คือ ลิสต์ของ web page ต่างๆ บน website ของเรา เมื่อเราสร้าง itemap บนเว็บไซต์เสร็จแล้ว ก็จะต้องเช็คด้วยว่าเราไม่มีเพจ 301 และ 401 อยู่ใน itemap นั่นเองครับ
4. Structured Data และ Schema Markup
Structured Data คือ ระบบข้อมูลที่ระบุประเภทเนื้อหาภายในเพจนั้นๆ เช่น ใช้ Tag แทรกเข้าไปที่ HTML เพื่อให้ Search Engine (เครื่องมือค้นหา) ได้รู้ว่าเพจนั้นๆ มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรประเภทไหนและติดอันดับได้ง่ายขึ้น
5. Internal Linking (การเชื่อมโยงภายใน)
หากเราต้องการที่จะให้หน้าเว็บเพจของเรานั้นติดอันดับ จำเป็นที่จะต้องทำ Internal Linking คือการลิงก์ภายในเว็บไซต์ของตัวเองด้วย anchor text ที่เหมาะสมนั่นเองครับ
6. Responsive web design (การออกแบบเว็บไซต์ที่ตอบสนอง)
การออกแบบเว็บไซต์เราจำเป็นที่จะต้องสร้างให้ออกมาตอบสนองให้มากที่สุด สามารถแสดงผลได้รวดเร็วและแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มือถือ ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลไปยังความรู้สึกของผู้ใช้งานด้วยหากมีปัญหาหรือการใช้งานช้า อาจทำให้ผู้ใช้งานหันไปใช้งานเว็บไซต์อื่นๆ ถึงแม้ว่าเว็บไซต์จะติดอันดับมีผู้คนเห็นมากเท่าไหร่ถ้าหากไม่มีผู้ใช้งานก็สูญเปล่า
7. Call to Action ที่ชัดเจน
CTA หรือ Call to Action คือ การใช้คำเชิญชวนให้มากระทำบางอย่างที่เกี่ยวกับจุดประสงค์ที่เกี่ยวข้องของเว็บเพจนั้นๆ ตัวเช่น คลิกที่ปุ่มเพื่อ….. สามารถติดต่อได้ที่….. ปุ่มเหล่านี้ควรจะอยู่ตำแหน่งที่เหมาะสมและหาได้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพราะถ้าหากซับซ้อนหรือยากเกินไปผู้ใช้งานอาจหันไปใช้เว็บอื่นก็เป็นได้ เพราะในปัจจุบันการแข่งขันนั้นสูงมากผู้คนมีหลากหลายทางเลือก ดังนั้นไม่ว่าจะฟังก์ชันอะไรเราควรใส่ใจให้มากๆ ครับ
8. Page Speed (ความเร็วเพจ)
ในหัวข้อนี้สามารถส่งผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ใช้งานได้เช่นกัน เพราะหากการดาวน์โหลดช้าอาจจะทำให้ผู้ใช้งานกดออกและไปใช้เว็บอื่นๆ ได้ ดังนั้นเราสามารถทำให้มีความเร็วได้โดยใช้ CDNs หรือ Content Delivery Network (เครือข่ายการจัดส่งเนื้อหา) ใช้ขนาดรูปภาพให้เล็กลง ใช้และ Web Hosting ที่เชื่อถือได้ นี่คืออีกส่วนที่สำคัญเช่นกันที่เราไม่ควรมองข้ามแต่อย่างใด
9. Multimedia
การใช้ Media ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญ เพราะว่าบางคำที่ใช้เสิร์ชมีการแสดงผลผ่าน Media ที่แต่งต่างกันบน SERP (Search Engine Result Page) ดังนั้นการใช้ Media จึงเป็นสิ่งสำคัญควรใช้ให้เหมาะสมครับ
10. Site Structure (โครงสร้างเว็บไซต์)
การใช้ status code ที่ถูกต้องให้กับเพจต่างๆ บน website ดังนั้น code หลักๆ ที่เรามักใช้กัน เช่น
- 301 สำหรับ permanent redirects
- 404 สำหรับเพจที่เราไม่ต้องการแล้ว ลบทิ้งไปแล้ว
- 503 สำหรับเพจที่ temporaly unavailable
- 200 สำหรับเพจที่ใช้งานได้ปกติอยู่
11. Https
ในหัวข้อนี้ก็สำคัญเช่นกัน เชื่อว่ามีทั้งคนที่สังเกตและไม่ได้สังเกต เพราะบางครั้งเราเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ที่ไม่ได้ใช้ SSL Certificate ให้สังเกตดูดีๆ จะมีหัวข้อขึ้นมาเตือนว่า “not secure (ไม่ปลอดภัย)” บน Tab ก่อนหน้าชื่อ Domain ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ และการเข้าใช้งานต่างๆ อาจจะไม่ปลอดภัยจากการโดนเหล่าแฮกเกอร์เข้ามาโจมตีเอาข้อมูลสำคัญของเราไป
นอกจากนี้ Google ได้เคยออกมาเผยแล้วว่าการใช้ Https ได้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ Google ได้นำมาพิจารณาในการจัดอันดับเว็บไซต์ด้วยครับ
12. Social Media (สื่อสังคม)
ส่วนนี้ก็เป็นส่วนสำคัญ เพราะมีหลายเว็บไซต์ที่ไม่ได้เพิ่มปุ่มแชร์เพื่อให้ผู้คนแชร์เนื้อหาต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ไปยัง Social Media ต่างๆ ของพวกเขาเหล่านั้นได้ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีถ้ามีผู้คนเข้ามาแชร์เนื้อหาของเราทำให้เว็บไซต์เป็นที่รู้จัก ซึ่งในส่วนนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญของการทำ SEO เช่นกันครับ
หวังว่าผู้ที่เข้ามาอ่านบทความนี้จะได้ประโยชน์จากหัวข้อ “Technical SEO” เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำ SEO ของท่านต่อไป ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : noria.co.th