08 มี.ค. 2566
362

7 เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมในแฟนเพจ Facebook (สำหรับธุรกิจ)
สำหรับ Facebook นั้นถือว่าเป็นแพลตฟอร์มลำดับต้นๆ ที่คนไทยนิยมใช้กันเป็นจำนวนมหาศาล และสำหรับการใช้งานของแต่ละคนนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป แต่บทความนี้เราจะมาพูดถึงการสร้างแฟนเพจ Facebook เพื่อโปรโมทสินค้าและบริการของแบรนด์ เพื่อธุรกิจของคุณ
ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือมีจำนวนการไลก์ของแฟนเพจจำนวนมาก แต่จำนวนการมีส่วนร่วมนั้นน้อยมาก และบางครั้งกลับไม่มียอด หรือปิดการขายได้เลย ดังนั้นเรามาดู 7 เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วมในแฟนเพจ Facebook (สำหรับธุรกิจ) กันเลยยย.
1. ใช้เคล็ดลับการปักหมุด : ทุกครั้งที่เราโพสต์เนื้อหาใหม่ๆ จะทำให้โพสต์เก่าๆ นั้นถูกผลักดันลงไปด้านล่างตาม Timeline บางครั้งโพสต์นั้นอาจจะอยู่ในช่วงที่กำลังโปรโมทหรือทำอะไรสักอย่างที่สำคัญ แต่เราจำเป็นต้องมีโพสต์ใหม่ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นถ้าอยากให้โพสต์ที่สำคัญนั้นยังคงได้รับการมองเห็น และได้รับการมีส่วนร่วมอยู่คือต้องใช้การปักหมุด (ที่ไอคอนมุมขวาบนของโพสต์)
ซึ่งจะสามารถปักหมุดได้ครั้งละ 1 โพสต์เท่านั้น แน่นอนหากเราปักหมุดไว้ ทุกครั้งที่แฟนเพจเข้ามาเยี่ยมชมเพจเราก็จะเห็นโพสต์ที่ปักหมุดนั้นก่อนโพสต์อื่นๆ โดยสิ่งนี้เรียกว่าเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ และบางครั้งเมื่อเขาเห็นโพสต์ที่ปักหมุดนี้ อาจทำให้เขาเหล่านั้นมีส่วนร่วม เช่น กดอ่าน การกดไลก์ กดแชร์ คอมเมนต์ หรือซึมซับแบรนด์ของคุณไปไว้ในความทรงจำแล้วก็เป็นได้
2. วางแผนระยะเวลา และความถี่ในการโพสต์ : ตัวอย่างเช่น คุณได้สร้างเพจ Facebook ขึ้นมาแล้ว และได้ดำเนินการการลงข้อมูลต่างๆ ไว้ จากนั้นคุณกลับไม่สนใจหรืออัปเดตข่าวสารใดๆ เลย จุดนี้จะกลายเป็นข้อเสียอย่างมาก เช่น ขาดความน่าเชื่อถือ ผู้เยี่ยมชมนึกว่าเพจร้าง และเพจปลอม และอื่นๆ
ฉะนั้นจะคล้ายกับการทำ SEO เมื่อคุณสร้างเพจ Facebook ขึ้นมาแล้วคุณต้องจัดตาราง และความถี่ในการโพสต์ให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นโพสต์สำหรับโปรโมท ผสมกับโพสต์ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ หรือโพสต์คอนเทนต์ที่เฮฮานิดหน่อยเพื่อดึงการมีส่วนร่วมและละลายพฤติกรรม
หากคุณจัดตารางเวลาและความถี่ในการโพสต์ได้อย่างเหมาะสม จะทำให้เพจของคุณนั้นได้รับความน่าเชื่อถือ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น สร้างความรับรู้ของแบรนด์ได้ และสุดท้ายแล้วจะสำเร็จตามจุดประสงค์ที่คุณต้องการได้
คำเตือน : อย่าโพสต์มั่วคิดจะโพสต์ก็โพสต์ ซึ่งจะทำให้เกิดความน่ารำคาญได้ และทัศนคติการเขียนเนื้อหาลงไปนั้นสำคัญมากๆ หากเขียนไม่ดีห้วนๆ อาจทำให้คนมองแบรนด์ของเราไม่น่าเชื่อถือก็เป็นได้ (ดังนั้นทำให้เหมือนการโปรโมทตนเอง)
3. กรอกข้อมูลพื้นฐานในหน้า About และเหตุการณ์สำคัญของบริษัท : สำหรับหน้า About (เกี่ยวกับ) นั้นโดยทั่วไปแล้วผู้เยี่ยมชมมักจะไม่สนใจหรือเข้าไปอ่าน เว้นเสียแต่....คนที่กำลังสนใจจะใช้บริการหรือกำลังจะตัดสินใจซื้อสินค้าของคุณ
อีกทั้งหากเขียนเนื้อหาในหน้า About ได้ดีจะสร้างความน่าเชื่อถือ หรือบางครั้งอาจจะถูกใจผู้ที่เข้ามาอ่านอาจทำให้เขาเหล่านั้นกดติดตาม และซึมซับแบรนด์ของบริษัทคุณได้โดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการใส่ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริษัท เช่น
- แผนที่ตั้งธุรกิจ
- หมายเลขโทรศัพท์
- ข้อมูลทั่วไป
- หมวดหมู่
- ชื่อแฟนเพจ
- ชื่อผู้ใช้ (URL ที่อยู่ของแฟนเพจ)
4. ข้อมูลธุรกิจ
5. ข้อมูลติดต่อเพิ่มเติม
- อีเมล
- เว็บไซต์
6. ข้อมูลเพิ่มเติม
- เกี่ยวกับ
- ภาพรวมของบริษัท
- ข้อมูลลิขสิทธิ์
- Founding date
- รางวัล
- สินค้า
- เพิ่มเมนู
- นโยบายความเป็นส่วนตัว
7. ความเป็นมา : “ในส่วนของความเป็นมานั้น หากเรียบเรียงเล่าสตอรี่ได้ดี จะสร้างความน่าเชื่อถือ สร้างคุณค่า ความน่าจดจำ ให้กับธุรกิจและลูกค้าของคุณได้ และอย่าลืมใส่พันธกิจด้วยนะครับ”
4. เพิ่มปุ่ม Call-to-action (CTA) : Call-to-action (CTA) สามารถกำหนดจุดประสงค์ได้หลายรูปแบบ ดังนี้
1.บริการ
- จองเลย
- เริ่มสั่งอาหาร
2.ติดต่อเรา
- ทรเลย
- ติดต่อเรา
- ส่งข้อความ
- ลงทะเบียน
- ขอทราบราคา
- ส่ง Email
3.เรียนรู้เพิ่มเติม
- เลือกซื้อเลย
- เรียนรู้เพิ่มเติม
4.ทำรายการซื้อหรือบริจาค
- เลือกซื้อเลย
- ดูข้อเสนอ
5.ดาวน์โหลดแอปหรือเกม
- ใช้แอป
- เล่นเกม
5. แสดงความเป็นตัวตนของแบรนด์ : ตัวอย่างเช่น Bestjob th หรือ Bestjob.com เป็นผู้ให้บริการด้านการจัดหางาน หรือจัดหาพนักงาน โดยบริษัทได้ใช้พื้นที่นี้ ในการแสดงออกถึงตัวตนของแบรนด์ มีความน่าเชื่อถือ สดใส น่ารัก ทำให้การตลาดที่ดูยุ่งยากซับซ้อนอย่าง Bestjob.com นั้นดูเป็นมิตร และใช้งานง่ายกว่าที่คิด
6. สื่อถึงธุรกิจภายในหนึ่งประโยค : สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างการรับรู้ให้ได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านมาเห็นได้เข้าใจว่าแบรนด์ของคุณนั้นกำลังทำเกี่ยวกับอะไร น่าสนใจอย่างไร ฯลฯ ดังนั้นจากตัวอย่างจะพบว่า เป็นผู้ให้บริการเอเจนซีด้านการตลาดออนไลน์ โดยประโยคที่ว่า "Wynnsoft Solution" นั้นสามารถบ่งบอกถึงลักษณะการทำงานด้านการตลาดออนไลน์ได้อย่างครอบคลุมเลยทีเดียว
7. การใช้ภาพ Cover เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอยากซื้อสินค้า : คุณจะสังเกตเห็นข้อความ "แหล่งข้อมูลงานกว่าพันรายการ สะดวก ปลอดภัย ตอบโจทย์ความต้องการ ทั้งผู้หางานและผู้ว่าจ้าง" ที่อยู่ในภาพแบรนด์ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความไว้วางใจ และความน่าเชื่อถือที่จะเข้ามาใช้บริการ นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม หากได้ลงมือทำจนสำเร็จทุกขั้นตอนแล้วอย่าลืมวัดผลกับสิ่งที่ทำลงไปด้วย เช่น ส่งผลอะไรกับแบรนด์บ้าง ยอดขาย การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ หรือโพสต์ และรายละเอียดอื่นๆ ที่สามารถนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นกว่าเดิม!
--Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : blog.hubspot.com / socialmediaexaminer.com / stepstraining.co