08 ต.ค. 2561
2510
เทรนด์ขายของออนไลน์ปี 2018
ถึงแม้ว่าจะผ่านมาเกือบสิ้นปีได้แล้ว แต่ทราบหรือไม่ว่าเทรนด์การขายของในปี 2018 นี้มีความคึกคักและน่าจับตามองอย่างมาก เพราะด้วยเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหว รวมไปถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ได้ให้ความสำคัญกับการซื้อขายบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ไม่ต่างจากการซื้อของหน้าร้าน มิหนำซ้ำบางร้านการซื้อขายทางออนไลน์อาจมีความคึกครื้นมากกว่าหน้าร้านอีกด้วย และเทรนด์ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยให้นักการตลาดสามารถนำไปปรับใช้หรือเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพัฒนาสิน้คาและแบรนด์ต่อไปในอนาคต
1.การใช้โฆษณาบน Facebook อย่างเดียวไม่พออีกต่อไป
หากสังเกตพฤติกรรมการใช้งาน Facebook ของคนในสังคมจะพบว่ามีมากขึ้น และมีการติดตามเรื่องราว ข่าวสาร และเหตุการณ์ต่างๆ จากเฟสบุ๊กเป็นอันดับแรกๆ เช่นกัน พ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่เริ่มหันมาขายสินค้าโดยผ่าน Live ฟังก์ชั่นนึงในเฟสบุ๊กที่เรียกความสนใจจากผู้บริโภคได้เช่นเดียวกัน ส่งผลให้การที่เราจะทำการโฆษณาที่เฟสบุ๊กเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ประกอบกับธุรกิจแบบ E-Commerce ที่ประเทศไทยได้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเฟสบุ๊กยังได้เพิ่มช่องทางการขายสินค้าอย่าง Facebook Marketplace ที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
2.Line กลายเป็นช่องทางการขาย
แอปพลิเคชั่น Line ได้มีบริการเฉพาะขึ้นมาใหม่อย่าง Line@ ที่จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถส่งข้อความถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างง่ายดายมากขึ้น โดยจะเป็นการส่งข้อความหาลูกค้าด้วยฟังก์ชั่น Broadcast ที่สามารถรองรับลูกค้าด้วยข้อความและภาพอย่างไม่ตกหล่น รวมไปถึงการใช้ฟังก์ชั่น Coupon เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า หรือการสำรวจความต้องการของลูกค้าเราก็จะใช้ฟังก์ชั่น Poll&Servey เป็นต้น
3.เรียกความสนใจและดึง Engagement จากลูกค้าด้วย Video
จากผลสำรวจของ Cheetahmarketing ได้ระบุว่า Video นั้นสามารถดึงดูดความสนใจผู้ชมจนจบได้มีเพียง 37% เท่านั้น โดยเป็นวิดีโอที่มีความยาวต่ำกว่า 90 วินาทีถึง 53% และ Video ที่มีความยาวมากกว่า 30 นาที จะสามารถดึงดูดคนดูไว้ได้เพียงแค่ 10% เท่านั้น นอกจากนี้ผู้ที่เล่น Facebook จะแชร์วิดีโอเฉลี่ย 89.5% ดังนั้นหากเราต้องการให้ Video ของเรามีผู้สนใจ และถูกติดตามอย่างมากมาย เราจะต้องไม่ทำวิดีโอที่ยาวจนเกินไป และต้องเริ่มต้นวิดีโอด้วยสิ่งที่น่าดึงดูดใจเราไปถึงคำบรรยายที่จะเป็นการเชิญชวนให้มีผู้เข้ามาชมวิดีโอของเราได้มากขึ้น
4.การรีวิวสินค้า
การรีวิวสินค้าจากผู้ใช้จริงจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ลูกค้านั้นทำการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเราด้วยเช่นกัน แต่การรีวิวสินค้าในปัจจุบันนี้ได้เริ่มมีเรื่องของการตลาดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย จึงอาจทำให้รีวิวบางส่วนนั้นอาจจะมากเกินจริงจนทำให้สินค้าของเรานั้นดูมีความไม่น่าเชื่อถือเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการรีวิวสินค้าจากกลุ่มผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นบุคคลมีชื่อเสียง หรือกลุ่มหน้าม้า ก็ยังมีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคอยู่เช่นเดิม ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามสุดท้ายแล้วเราจะประหยัดงบการตลาดมากขึ้นเนื่องจาก การบอกกันปากต่อปากของผู้บริโภค หรือที่เรียกว่า Word of Mouth : WOM จะช่วยให้เกิดการซื้อขายที่มากขึ้น อาจจะเริ่มจากบุคคลใกล้ตัว ครอบครัว เพื่อนสนิทที่มีอิทธิพลต่อการซื้อมากถึง 86% รองลงมาคือผู้เชี่ยวชาญ การรีวิวผ่านเว็บไซต์ และบล็อกเกอร์ ตามลำดับ
5.การมี Website
เพราะคนทั้งโลกสามารถเข้าเว็บไซต์ได้ การที่ธุรกิจของเรานั้นมีเว็บไซต์นอกจากจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือแล้ว ยังช่วยให้ลูกค้ารู้สึกถึงความทันสมัยของแบรนด์อีกด้วย อีกทั้งสังคมไทยที่มีกระแสซื้อขายออนไลน์ที่มากขึ้น การที่มีเว็บไซต์ยังทำให้ลูกค้านั้นสามารถเข้าถึงสินค้าของเราได้ตลอดเวลา รวมไปถึงสามารถซื้อสินค้าจากแบรนด์ของเราได้อีกด้วยเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่เราสำคัญนอกจากการมีเว็บไซต์แล้วการใช้การตลาด กลยุทธ์ต่างๆ ให้เกิดการซื้อขายเกิดขึ้นเปลี่ยนให้ผู้ที่ผ่านไปมา กลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์เราให้ได้
6.Cashless society & Direct supplier
เมื่อจีนแผ่นดินใหญ่ได้เข้ามามีบทบาทในสังคมไทยเกี่ยวกับเรื่องของการซื้อขายมากขึ้น อิทธิพลต่างๆ ก็ถูกส่งต่อมายังประเทศไทยอย่างรวดเร็วมากเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่นการเป็นสังคมไร้เงินสด ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตประชาชนชาวจีน ไม่ต้องพกเงินสดเพียงแค่มีสมาร์ทโฟนก็สามารถซื้อขายสินค้าได้ในทันที ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลกลายเป็นสังคมไร้เงินสดอย่างเต็มตัว ร้านค้าที่เชียงใหม่ กรุงเทพฯ ก็มีบริการที่รองรับการชำระเงินด้วย QRCode ของ Alipay และ WeChat Pay ซึ่งเหล่านี้เป็นระบบการชำระเงินของจีน และนอกจากสังคมไร้เงินสดที่ระบาดเข้ามายังประเทศไทยแล้ว สินค้าจีนก็ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงร้านค้าจากประเทศจีนที่มีราคาถูกโดยไม่ต้องอาศัยคนกลางอีกต่อไป แต่ทั้งนี้การขายสินค้าราคาถูกอาจจะยังไม่พอ เราจำเป็นต้องมีบริการระหว่างการขายและหลังการให้ลูกค้าเกิดความประทับใจด้วย เพราะไม่เช่นนั้นอาจถูกร้านค้าจากจีนเข้ามาแทนที่เราได้ในอนาคต
7.การมี Chatbot เป็นตัวช่วยในการขายสินค้า
การที่ธุรกิจของเรานั้นมี Chatbot จะช่วยให้เราทุ่นเวลาในการตอบคำถามของลูกค้า ซึ่งเป็นข้อความที่เราไม่ต้องพิมพ์ซ้ำเดิม ตัวอย่างเช่นข้อความต้อนรับ หรือเงื่อนไขในการซื้อขายสินค้ากับเรานั่นเอง ตัวอย่างเช่น การมีข้อความต้อนรับ การลิงก์ไปยังสินค้าที่เราขาย เป็นต้น โดยปัจจุบันแฟลตฟอร์มที่มีการปรับส่วนของฟังก์ชั่นเหล่านี้นั้นได้แก่ Messenger ของ Facebook และ LINE@ ของ LINE อย่างที่เราเคยได้เห็นกันบ้างในการซื้อขายในปัจจุบันนี้
8.AI&BIG Data ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายแบบไม่ต้องคาดเดา
- AI หรือที่เรียกว่า Artificial Intelligence เริ่มเข้ามามีบทบาทในการซื้อขายสินค้า ช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายมีความสะดวกในการใช้งานทางออนไลน์มากขึ้น เช่น Chatbot, Facebook Ads ที่ช่วยปรับ Algorithm และอาจมีการใช้งานหรือความสามารถอื่นๆ ที่ถูกปรับขึ้นในอนาคต
- Big data คือข้อมูลขนาดใหญ่และมากมายที่อยู่ในโลกออนไลน์ ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อให้ต่อยอดแนวทางในการตลาดให้มีประสิทธิภาพเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
ดังงั้นทั้งสองตัวนี้คือจะมีประโยชน์ที่เกื้อหนุนกัน โดย Big data วิเคราะหืข้อมูลในภาพรวม และ AI ก็จะทำการเรียนรู้ข้อมูลที่ได้จาก Big data โดยอัตโนมัตินั่นเอง
9.เกิด Marketplace ตลาดใหม่ที่รวมผู้ใช้งานเอาไว้
เพราะเทรนด์ที่กำลังมาในขณะนี้คือ E-Commerce ทำให้เกิดสิ่งที่เป็นกระแสตอบรับนั่นคือ การพัฒนาระบบ Logistics, e-Payment, Mobile-banking และการเปิดตัวของ Promtpay ที่ทำให้เกิดการใช้จ่ายเงินได้สะดวกยิ่งขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต อีกทั้งยังเป็นการรองรับธุรกิจประเภทE-Commerce อีกด้วย สำหรับปัจจุบันนี้ได้มีแพลตฟอร์มของ Marketplace อยู่หลายแพลตฟอร์มด้วยกัน ตัวอย่าง 11street, Lazada, Shopee เป็นต้น โดยจะเป็นการเน้นขายสินค้าแบบ C2C คือการซื้อขายสินค้าระหว่างลูกค้ารายย่อยด้วยกัน และการซื้อขายแบบ B2C นั่นคือการที่ร้านค้าเข้ามาขายสินค้านั่นเอง ตัวอย่างเช่น Watsons, BigC ถึงแม้จะมีคู่แข่งในการซื้อขายที่สูงมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าตลาดแต่ละกลุ่มนั้นมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ฉะนั้นร้านค้าแต่ละร้านจึงควรที่จะเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับสินค้าของเราด้วย
10.การตลาดแบบ Niche Brand สนใจแค่บางกลุ่ม
สำหรับการเจาะตลาดแบบ Niche Brand คือการเจาะตลาดแบบกลุ่มคนเฉพาะกลุ่ม อีกทั้งปัจจุบันมีการสร้างกลุ่มโซเชียลที่รวบรวมคนที่มีความชอบ หรือสนใจสิ่งเดียวกันเอาไว้ เป็นกลุ่มที่มีไว้ซื้อขายสินค้าที่เป็นแนวและลักษณะเดียวกัน และอย่าลืมสร้าง Content สำคัญเพื่อให้เกิดความสนใจของผู้บริโภค ซึ่งหากเข้าไปอยู่ในบทสนทนาของกลุ่มลูกค้าได้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของเรานั้นได้เพิ่มผลกำไรที่มากขึ้น
ที่มา : blog.sellsuki