11 มิ.ย. 2565
1968
มารู้จักกับโครงสร้าง website ในฉบับย่อก่อนตัดสินใจทำเว็บไซต์ให้ตรงตามคอนเซ็ปต์
บทความนี้เราจะมาแนะนำให้ผู้ที่สนใจทำเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ ประชาสัมพันธ์หรือรูปแบบอื่นๆ ให้ได้รู้จักกับโครงสร้างของเว็บไซต์ก่อนที่จะไปจ้างทำ เพราะเราจะได้รู้ว่าคอนเซ็ปต์ที่เราจะนำมาทำบนเว็บไซต์ควรวางแบบไหนในรูปแบบไหนจึงจะเหมาะสม น่าใช้ และดึงดูดผู้คนให้เข้าชมเว็บไซต์เรานั่นเอง
ดังนั้นไม่เพียงแต่จะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วจะมีผู้คนเข้ามาใช้งาน เว้นแต่ท่านจะเป็นผู้โด่งดังและคนรู้จักในวงกว้าง หากเป็นธุรกิจที่กำลังเริ่มต้นและไม่เป็นที่รู้จักการทำเว็บไซต์ก็จำเป็นที่ต้องทำ SEO ด้วย แต่เราจะไม่ลงลึกถึงเรื่องของการใช้กลยุทธ์ SEO
เราจำเป็นต้องพาท่านมารู้จักกับโครงสร้างของเว็บไซต์ก่อนเป็นอันดับแรกว่าเป็นอย่างไร มีลักษณะแบบไหน ใช้งานอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับสิ่งที่ท่านต้องการ โครงสร้างเว็บไซต์หน้าตาแบบไหนเราไปดูกันเลยครับ
โครงสร้าง website (เว็บไซต์)
โครงสร้างของเว็บไซต์ (Website Structure) เรียกว่าการจัดการข้อมูล รวมถึงองค์ประกอบทั้งหมดของเว็บไซต์ ว่าเรานั้นจะจัดองค์ประกอบต่างๆ ไว้ตรงไหนบ้าง เพื่อให้เหมาะกับคอนเซ็ปต์ของท่าน
- มีรายละเอียดข้อมูลแบบไหน
- เว็บไซต์มีกี่หน้า
- การเชื่อมโยงหน้าเพื่อเข้าถึงข้อมูล ตามลำดับความสำคัญของรายละเอียด
จากข้อความข้างต้นเชื่อว่าผู้อ่านเริ่มมองเห็นภาพบ้างแล้ว แต่เดี่ยวก่อนครับยังไม่จบ เพราะหลักการออกแบบเว็บไซต์จำเป็นต้องออกแบบโดยพิจารณาส่วนประกอบดังนี้
- วัตถุประสงค์โครงสร้างเว็บไซต์
- ประเภทเว็บไซต์
- ขนาดของข้อมูลที่เตรียมจะนำเสนอ
- การจัดวางองค์ประกอบต่างๆ (สำคัญยิ่ง)
โครงสร้างเว็บไซต์จะประกอบไปด้วย 4 รูปแบบดังนี้
- ครงสร้างแบบเรียงลำดับ (Sequential Structure)
- โครงสร้างแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)
- โครงสร้างแบบตาราง (Grid Structure)
- โครงสร้างแบบใยแมงมุม (Web Structure)
ผู้อ่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างดังกล่าวเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาเพื่อให้การจัดวางโครงสร้างเหมาะกับงานของท่านนั่นเองครับ
รูปแบบเว็บไซต์
รูปแบบเว็บไซต์จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
- Static website เป็นเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นมาด้วยภาษา HTML
- Dynamic website เป็นเว็บไซต์ที่มีการเปลี่ยนแปลงหรืออัปเดตข้อมูลอยู่บ่อยๆ
เว็บเพจ เว็บไซต์ โฮมเพจ มีความแตกต่างกันอย่างไร
- web page (เว็บเพจ) คือ หน้าข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ในรูปแบบของ HTML
- website (เว็บไซต์) คือ การนำเว็บเพจหลายๆ หน้ามาประกอบกัน จึงทำให้เกิดเป็นเว็บไซต์ฯ
- Home page (โฮมเพจ) คือ หน้าแรกของเว็บไซต์ที่รวมส่วนต่างๆ ไว้หลายอย่าง เช่น เมนู, เนื้อหา, (ยิ่งออกแบบได้สวยผู้คนที่ยิ่งอยากเข้ามาชมเว็บไซต์ของคุณ) ดังนั้นหากท่านอยากทำเว็บไซต์ ควรพิจารณาหน้าโฮมเพจเป็นสิ่งแรกด้วย อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือ ความั่นใจให้แก่ผู้เข้าชมด้วยครับ
ส่วนประกอบของ web page
ส่วนประกอบของหน้า web page จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
- ส่วนหัวของหน้า (Page Header) คือ เมนูหลัก, ลิงก์, ชื่อเว็บไซต์, Logo (โลโก้)
- ส่วนของเนื้อหา (Page Body) คือ เป็นส่วนที่อยู่ตรงกลางของเว็บเพจนั่นเองครับ (ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์)
- ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer) คือ เป็นส่วนที่อยู่ล่างสุดของหน้า web page มีไว้เพื่อแสดงข้อมูลเพิ่มเติม ช่องทางการติดต่อเพิ่มเติม ข้อบังคับ ลิขสิทธิ์ และรายละเอียดคำแนะนำต่างๆ ที่ต้องการใส่ลงไปครับ
การออกแบบเว็บไซต์
ในปัจจุบันการออกแบบเว็บไซต์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ และมีลูกเล่นที่แตกต่างกันออกไป โดยเว็บไซต์ได้พัฒนาและแข่งขันกันให้มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ที่มาพร้อมกับเครื่องมือที่มีอย่างมากมายซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เว็บไซต์นั้นมีความล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเราไปดูกันเลยว่าหลักสำคัญในการออกแบบหน้าเว็บไซต์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ…..ดังต่อไปนี้
- การเลือกใช้สี (Color), ฟอนต์ (Font), รูปภาพ (Picture)
- Call to Action ที่สะดวกและใช้งานง่าย
- ความล้ำสมัยสะดวกต่อการใช้งาน (ไม่สับสนครั้งแรกเมื่อได้เข้าชม)
- อัปเดตอยู่เสมอ ความถูกต้องที่สร้างความน่าเชื่อถือ
- คุณภาพของเว็บไซต์ (สำคัญมากเพราะสื่อถึงทุกองค์ประกอบของเว็บไซต์)
- เมนู หรือ Navigation ที่ใช้งานง่าย
- สร้างความโดดเด่นที่ชวนสะดุดตา โดยมีความเป็นเอกลักษณ์
- การออกแบบเว็บไซต์ที่เรียบง่าย และเข้าใจง่าย (ทำยังไงจะออกแบบโดยที่ผู้เข้าชมเว็บไซต์ของคุณไม่งงเกี่ยวกับการใช้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เจอ)
ทั้ง 8 องค์ประกอบนี้ผู้อ่านสามารถนำไปพิจารณาก่อนเริ่มทำเว็บไซต์หรือจ้างทำเว็บไซต์ได้ครับ เพื่อเป็นแนวทางที่ดีให้กับเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 8 องค์ประกอบนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำ SEO ทั้งหมดครับในการสร้างกลยุทธ์ให้เว็บไซต์ของคุณนั้นเป็นที่นิยม
เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ด
ในส่วนนี้จะเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ด หากใครที่ใช้ Windows อยู่จะมีโปรแกรมที่ชื่อว่า Notepad ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้เขียนสำหรับภาษา HTML หรือภาษาอื่นๆ แต่ข้อเสียคือการเขียนโค้ดต่างๆ ต้องเขียนขึ้นเองเท่านั้นครับ ดังนั้นเรามีโปรแกรมที่ใช้ในการเขียนโค้ดมาให้เลือกใช้ ดังนี้
- Adobe Dreamweaver adobe.com
- Visual Studio Code code.visualstudio.com
- Sublime Text sublimetext.com
- Notepad notepad-plus-plus.org
หวังว่าผู้อ่านจะได้รู้จักกับโครงสร้างของเว็บไซต์แล้วไม่มากก็น้อยเพื่อใช้เป็นแนวทางก่อนเริ่มทำเว็บไซต์ด้วยตนเอง หรือผู้ที่กำลังจะจ้างทำเว็บไซต์ในคอนเซ็ปต์ต่างๆ ตามต้องการครับ หากท่านต้องการคำปรึกษาหรือข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ก่อนทำเว็บไซต์สามารถดูได้ที่ wynnsoft-solution.com หากท่านมีเว็บไซต์เป็นส่วนตัวแล้วอย่าลืมศึกษาเกี่ยวกับ SEO เพื่อใส่กลยุทธ์ให้กับเว็บไซต์ของท่านด้วยนะครับ
“หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อย ถ้าหากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยครับ”
---Wynnsoft Solution รับทำเว็บไซต์ รับทำ SEO รับทำการตลาดออนไลน์ รับทำโฆษณา Facebook รับทำเว็บไซต์ ขอนแก่น และรับทำเว็บไซต์ทั่วประเทศ—
ข้อมูลจาก : asria.org / Poom Ldb / adobe.com / code.visualstudio.com / sublimetext.com / notepad-plus-plus.org