06 ต.ค. 2560

7318

Meta Description คืออะไร by seo-winner.com

Meta Description คืออะไร


บางส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวกับ SEO นั้นก็มีข้อมูลซับซ้อนมากมาย แต่ไม่ยากเกินการทำความเข้าใจอย่างแน่นอน สำหรับวันนี้จึงต้องทำความรู้จัก Meta Description เพื่อให้การทำ SEO ของเรานั้นประสบความสำเร็จเพิ่มมากขึ้น มีความสมบูรณ์มากขึ้นในการทำการค้นหา และอาจส่งผลให้ SEO ติดอันดับต้นๆ ได้อีกด้วย

Meta Description เป็น Meta Tag ที่มีไว้สำหรับอธิบายรายละเอียดเนื้อหาของหน้าเหล่านั้น เพื่อให้ผู้ค้นหาทราบว่าเว็บไซต์นี้เกี่ยวข้องกับอะไร สำหรับข้อความที่อยู่ใน Meta Description จะไม่ได้แสดงในเว็บไซต์แต่จะแสดงีท่หน้า SERP ของ Google โดยจะมีอยู่ 2 บรรทัด ถัดจาก Title Tag และสามารถตรวจสอบข้อความนี้ได้ Code ถ้า Keyword ที่ผู้ค้นหาใช้ในการค้นหาตรงกับข้อความที่อยู่ใน Meta Description ก็จะเป็นสีแดง


การใส่ Meta Description
Meta Description ใส่ในส่วน HEAD (<head></head>) ของ HTML  ซึ่ง Meta Description จะมีลักษณะเป็น  <meta name=”description” content=”…”> และใส่ข้อความลงในช่องว่าง (…)

<head>
<meta name="description" content= "คำอธิบายเนื้อหาเว็บไซต์">
</head>


ข้อแนะนำสำหรับการใส่ข้อความใน Meta Description
1.ใส่ Keyword ใน Meta Description

Meta Description มีผลต่อการจัดอันดับเล็กน้อย ซึ่งเน้นอธิบายให้ผู้ที่ค้นหาเข้าใจมากกว่า ดังนั้นควรใส่ Keyword ลงใน Meta description เพื่อให้มีความสอดคล้องกับหัวข้อ เพิ่มความน่าเชื่อถือ น่าสนใจและจูงใจให้ผู้ค้นหา Click ที่เว็บไซต์ของลูกค้า

2.ไม่ควรใส่ Keyword ใน Meta Description มากเกินไป
การใช่ Meta Description ควรใส่ Keyword ด้วย แต่จะต้องไม่ใส่มากเกินไปจนอ่านไม่เข้าใจ และไม่น่าสนใจ อย่าลืมว่า Meta Description เป็นส่วนอธิบายรายละเอียดเสริมของ Title Tag ควรใช้ข้อความที่น่าสนใจ จูงใจผู้ค้นหา อ่านแล้วดูเป็นธรรมชาติ

3.ใส่ Keyword ในช่วงต้น หรือช่วงกลางของ Meta Description
การใส่ Keyword ลงใน Meta Description นั้น เจ้าของเว็บไซต์ต้องคำนึงด้วยว่าจะใส่ไว้ในส่วนใดของข้อความ หากเป็นไปได้ควรวางไว้ในช่วงต้นของ Meta Description เพราะ Google ให้ความสำคัญกับข้อความที่อยู่ช่วงต้นมากกว่า

4.ไม่ควรใส่ข้อความใน Meta Description ยาวเกินไป
ข้อความใน Meta Description ไม่ควรเกิน 160 ตัวอักษร เพราะถ้าหากข้อความยาวเกินไปจะตกขอบเป็น (...) และถ้าใส่ Keyword ไว้ด้านหลังของข้อความ ก็อาจทำให้ Keyword ตกขอบไปด้วย

5.ห้ามใส่ข้อความใน Meta Description ซ้ำกับหน้าอื่นในเว็บไซต์ของตัวเอง
Meta Description ไม่ได้สำคัญมากเท่ากับ Title Tag แต่ข้อความที่ใส่ใน Meta Description ต้องให้แตกต่างกันในทุกหน้า ใน 1 เว็บไซต์หากใส่แล้วซ้ำกัน ไม่ควรใส่เลยจะดีที่สุด

6.ไม่ต้องใส่ Meta Description ทุกหน้าของเว็บไซต์
กรณีที่เว็บไซต์เป็น Web Blog หรือมีการเพิ่มบทความวันละมากๆ อาจไม่ต้องใส่ Meta Description ก็ได้ ในขณะเดียวกันหากเว็บไซต์มีจำนวนหน้าน้อย ไม่มีการเพิ่มบทความบ่อยๆ แนะนำว่าควรใส่ Meta Description ทุกหน้า เนื่องจากเวลาที่ Meta Description แสดงผลในหน้า SERP และไม่มีการตั้ง Meta Description เอาไว้ Google ก็จะดึงข้อมูลเอง ซึ่งอาจไม่ตรงตามที่เจ้าของเว็บไซต์อยากให้ข้อมูลนั้นๆ กับผู้ค้นหา และหากตั้ง Meta Description ไว้แล้ว Google จะดึงข้อมูลตามที่เจ้าของเว็บไซต์ใส่เอาไว้ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับหัวข้อมากกว่าและส่งผลดีต่อผู้ค้นหา

Meta Description เป็นการอธิบายรายละเอียดและภาพรวมของเว็บไซต์ที่แสดงต่อผู้ค้นหา และเป็นสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องคำนึงว่าจะใส่ข้อความอะไรลงไปใน Meta Description และเกี่ยวข้องกับ Title Tag มากที่สุด เพื่อให้เกิดเป็นความธรรมชาติของการค้นหา ดูไม่หลอกลวง ไม่บิดเบือนความจริง อีกทั้งยังเป็นการช่วยให้ Google นำเว็บไซต์ของเราไปจัดอันดับการค้นหาอย่างถูกต้องตามกลุ่ม Keyword และสอดคล้องกับ Title Tag








ที่มา : h1

บทความ

ข้อดีของ Google AdWords

ข้อดีของ Google AdWords

Google Ads หรือที่เคยรู้จักกันในชื่อ Google AdWords เป็นเครื่องมือโฆษณาออนไลน์ที่ทรงพลัง ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว ... อ่านเพิ่มเติม

5 ปลั๊กอิน Wordpress ที่จำเป็นต้องติดตั้ง

5 ปลั๊กอิน Wordpress ที่จำเป็นต้องติดตั้ง

5 ปลั๊กอิน WordPress ที่จำเป็นต้องติดตั้ง เพื่อเว็บไซต์แข็งแกร่งยิ่งขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพและฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์ได้อย่างมากมาย ... อ่านเพิ่มเติม

ACE Indicator System เชื่อมโยงการตลาดกับ SEO

ACE Indicator System เชื่อมโยงการตลาดกับ SEO

ACE Indicator System และการใช้ SEO เข้าใจความเชื่อมโยงเพื่อผลลัพธ์ที่ดีขึ้น การนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันจะช่วยให้สามารถปรับปรุงอันดับเว็บไซต์ในผลการค้นหาของ Google ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ... อ่านเพิ่มเติม

PageSpeed Insights กับ GTmetrix

PageSpeed Insights กับ GTmetrix

PageSpeed Insights กับ GTmetrix เป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในการวัดประสิทธิภาพและความเร็วของเว็บไซต์ ช่วยให้ผู้พัฒนาเว็บไซต์สามารถระบุปัญหาที่ทำให้เว็บไซต์โหลดช้า ... อ่านเพิ่มเติม

Total Blocking Time คืออะไร

Total Blocking Time คืออะไร

Total Blocking Time (TBT) เป็นหนึ่งในเมตริกที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยวัดระยะเวลาที่เว็บไซต์ถูกบล็อกจากการตอบสนองต่อผู้ใช้ เนื่องจาก JavaScript ที่ใช้เวลานานในการทำงาน ... อ่านเพิ่มเติม

ทำไมการทำเว็บไซต์ต้องรู้จัก Core Web Vitals

ทำไมการทำเว็บไซต์ต้องรู้จัก Core Web Vitals

ทำไมการทำเว็บไซต์ต้องรู้จัก Core Web Vitals ชุดของเมตริกที่ Google ใช้ในการวัดประสบการณ์ของผู้ใช้ (User Experience UX) บนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นปัจจัยการจัดอันดับของ Google ... อ่านเพิ่มเติม

Topical Authority  กับการจัดอันดับเว็บไซต์

Topical Authority กับการจัดอันดับเว็บไซต์

Topical Authority กับการจัดอันดับเว็บไซต์ เมื่อ Google มองว่าเว็บไซต์มีความรู้และความเชี่ยวชาญในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งเป็นพิเศษ เว็บไซต์นั้นก็จะได้รับการจัดอันดับที่สูงขึ้นในผลการค้นหา ... อ่านเพิ่มเติม

ปลั๊กอิน Elementor สำหรับคนทำ Wordpress

ปลั๊กอิน Elementor สำหรับคนทำ Wordpress

ปลั๊กอิน Elementor สำหรับคนทำ Wordpress ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ใช้งานง่ายและฟีเจอร์ที่หลากหลาย ทำให้สามารถสร้างหน้าเว็บไซต์ที่สวยงามและเป็นมืออาชีพได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดเลย ... อ่านเพิ่มเติม

Content Uniqueness คอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Content Uniqueness คอนเทนต์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

Content Uniqueness ความเป็นเอกลักษณ์ของคอนเทนต์ ความโดดเด่นและแตกต่างของเนื้อหาที่สามารถสร้างความสนใจและดึงดูดผู้ชมได้เป็นอย่างดี ... อ่านเพิ่มเติม