25 มี.ค. 2564
1859
ทริคในวางแผนกลยุทธ์ด้าน ‘content’
ถึงแม้ในปี 2564 เดินทางมาใกล้จะถึงครึ่งปีแล้ว หลายๆบริษัทและแบรนด์ต่างๆ ยังจำเป็นต้องวางกลยุทธ์ในด้านต่างๆ ทั้งระยะสั้น และระยะยาวอีกเช่นเคย พราะสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ทุกอย่างยังอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอน และยังหาคำตอบไม่ได้ว่าทุกอย่างจะกลับมาฟื้นตัวในภาวะปกติได้เมื่อไหร่
จากการที่ได้รับผลกระทบหนักจากวิกฤติครั้งนี้ อย่างไรก็ตามเนื้อหาด้านคอนเทนต์ต่างๆ ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ที่แบรนด์และภาคธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมตัว หนึ่งในนั้นก็คือ ‘คอนเทนต์’ หรือการมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค วันนี้เราจะมาเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับทริคในวางแผนกลยุทธ์ด้านคอนเทนต์โดยเฉพาะ ไปเริ่มกันเลยค่ะ
1.การเอาใจใส่
เพราะไม่ใช่แค่แบรนด์หรือธุรกิจที่เผชิญกับผลกระทบจากการระบาด ดังนั้น ความเข้าใจและเอาใจใส่ของแบรนด์/ธุรกิจที่มีในสถานการณ์แบบนี้ จะสร้าง impression ให้กับผู้บริโภคได้มากกว่าเดิม การที่แบรนด์มีส่วนช่วยบรรเทาความทุกข์ของลูกค้าได้ถือว่าเป็นสเต็ปแรกที่ต้องรีบทำ
2.การสื่อสาร
‘การสื่อสาร’ อย่างตรงไปตรงมาและเข้าใจผ่านคอนเทนต์ และจัดลำดับความสำคัญให้ถูกจุด มุ่งโฟกัสมาที่กลุ่มลูกค้าเป็นหลัก เป็น 1st priority โดยที่คอนเทนต์อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์/บริการก็ได้ แต่การสื่อสารที่โปร่งใสเห็นจุดประสงค์ชัดๆ ว่าจะเป็นเชิงการให้ข้อมูล หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นสิ่งสำคัญมาก
3.การสร้างการรวมตัวกับคนท้องถิ่น ในการผ่านคอนเทนต์
คอนเทนต์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ช่วงที่มีวิกฤตจะทำให้เข้าถึงกลุ่มคนท้องถิ่นมากขึ้น ไม่ใช่แค่บางพื้นที่ หรือบางประเทศเท่านั้น แต่ธุรกิจสามารถผลิตคอนเทนต์และสื่อสารไปยังกลุ่มที่เล็กลงไปได้อีกในระดับท้องถิ่น อย่างน้อยๆ จะเกิด impact ต่อธุรกิจและขยายการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้นด้วย
4.digital-firs
ไม่ว่าจะเป็นแคมเปญ การตลาด คอนเทนต์ หรืออีกหลายๆ กลยุทธ์จำเป็นต้องอิงกับดิจัลทั้งหมด! โดยที่ผ่านมากูรู พูดว่า ลูกค้า (แบรนด์) เรียกร้องความช่วยเหลือที่เกี่ยวกับดิจิทัลแคมเปญ, การตลาดแบบดิจิทัล, ดิจิทัลคอนเทนต์มากขึ้น และนี่คือดีมานด์ของคนในยุคนี้ ‘digital-first & digital-only’
เช่น สร้างประสบการณ์เสมือนจริง, การใช้เวลาบนจอมือถือเพิ่มขึ้น, แบรนด์เลือกที่จะตอบสนองลูกค้าแบบยอดเยี่ยมครบทุกช่องทาง, คอนเทนต์ที่ครีเอทีฟบนดิจิทัล เป็นต้น
5.หัดรับฟัง เข้าถึงหลักการในการปรับใช้
ช่วงที่เกิดวิกฤตการระบาดนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ ‘การรับฟังลูกค้า’ และรวบรวมข้อมูลที่ได้มากทั้งหมด ประมวลผล และประยุกต์ใช้ให้เป็น ฉลาดในการใช้ข้อมูล และต้องฉลาดในการเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย