18 ส.ค. 2563
1804
โลจิสติกส์ไหนเหมาะกับแบรนด์สินค้าเรา ?
โลจิสติกส์ เป็นเรื่องของระบบการจัดส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของข้อมูล หรือตัวสินค้า ไปยังลูกค้าที่ต้องการโดยมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น การขนส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการเกี่ยวกับหีบห่อ รวมถึงจัดการเรื่องวัตถุดิบ เรื่องทั้งหมดต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งเป็นหลักจึงจะเป็นเรื่องของโลจิสติกส์
แล้วโลจิสติกส์ไหนเหมาะล่ะ ถึงจะเหมาะกับแบรนด์สินค้าของเรา ?
- “เรือ” ค่าส่งถูก แต่ใช้เวลานาน
การส่งสินค้าจากไทย ไปจีน ทางแรกคือ “เรือ” ข้อดีคือ เป็นโลจิสติกส์ราคาถูกสุด แต่ข้อเสียคือ ใช้เวลานาน และธุรกิจที่ใช้ระบบขนส่งทางเรือ ส่วนใหญ่จะมี Volume การส่งเยอะ ดังนั้น ผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ที่ Volume การส่งไม่มาก ใช้การขนส่งทางเรือ อาจไม่คุ้ม และใช้เวลานาน
- “เครื่องบิน” แพง แต่เร็ว!
การขนส่งสินค้าทางเครื่องบิน เป็นที่นิยมสำหรับคนที่เพิ่มเริ่มขยายตลาดไปยังประเทศจีน โดยใช้ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์
ระหว่างประเทศ เช่น DHL, SF Express โดยค่าใช้จ่ายที่ผู้ส่งจะต้องจ่าย คือ ค่าบริการขนส่ง อัตราค่าส่งเป็นไปตามผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และเมื่อไปถึงปลายทางแล้ว จะมีเรื่องของภาษีอากร
ข้อดีของการขนส่งทางเครื่องบิน ถึงปลายทางเร็ว ไม่เกิน 2 วัน หรือเต็มที่ไม่เกิน 5 วัน และดำเนินการทุกขั้นตอนถูกต้องตามกฎหมาย ขณะที่ข้อเสีย คือ ต้นทุนสูง
- “ทางรถ” ค่าส่งถูก แต่ใช้เวลา และเสี่ยงสินค้าถูกกัก เพื่อตรวจสอบ
อีกวิธีการขนส่งที่นิยมมากที่สุด คือ “ทางรถ” เพราะค่าขนส่งถูก อย่างไรก็ตามใครที่ใช้บริการขนส่งทางรถ ถ้าต้องแชร์ตู้คอนเทนเนอร์กับคนอื่น และทางการของจีน พบเจอว่าของในตู้คอนเทนเนอร์นั้น มีบางอย่างผิดปกติ เช่น ส่งของปลอมเข้าประเทศ หรือของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือมีสินค้าที่ไม่ได้เครื่องหมายควบคุมมาตรฐานสินค้าตามที่ภาครัฐจีนกำหนด
ย่อมทำให้ของที่อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ตู้นั้นๆ ทั้งหมด ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดทั้งหมดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านนี้ของจีน แม้ว่าสินค้าของผู้ประกอบการ หรือของแบรนด์จะไม่ผิดปกติ และดำเนินการทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วก็ตาม
แต่หากเจอกรณีนี้ นั่นหมายความว่าผู้ประกอบการ หรือแบรนด์ จะจัดส่งสินค้าถึงลูกค้าปลายทางล่าช้ากว่าที่ระบุไว้ในขั้นตอนการสั่งซื้อสินค้า เช่น บางรายใช้เวลาหลายเดือน กว่าจะจัดส่งไปยังปลายทางได้ เพราะติดขั้นตอนการตรวจสอบของทั้งหมดในตู้คอนเทนเนอร์
ที่มา : marketingoops